๗. สุปปวาสสูตร ว่าด้วยนางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 191
ทุติยปัณณาสก์
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑
๗. สุปปวาสสูตร
ว่าด้วยนางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 191
๗. สุปปวาสสูตร
ว่าด้วยนางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อปัชชเนลนิคม ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองสบงแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินไปนิเวศน์ของนางสุปปวาสา ธิดาของเจ้าโกลิยะ ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย นางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า บริบูรณ์พอเพียงด้วยขาทนียโภชนียาหารด้วยตนเอง ครั้นพระองค์เสวยเสร็จ นำพระหัตถ์จากบาตรแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ในที่สมควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนสุปปวาสา อริยสาวิกา เมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน ๙ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ให้สถาน ๔ คืออะไรบ้าง คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุ แล้วย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง ครั้นให้วรรณะ ... สุขะ ... พละแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) วรรณะ ... สุขะ ... พละ อันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง ดูก่อนสุปปวาสา อริยสาวิกาเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน ๔ นี้ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 192
บุคคลให้โภชนาหารอันปรุงแต่งแล้วอันสะอาด ประณีต มีรส (แก่ปฏิคาหก) ทักษิณาทานนั้นที่บุคคลให้ในท่านผู้ดำเนินตรง ผู้ประกอบด้วยจรณะ ผู้ถึงความเป็นใหญ่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นทักษิณาที่รวบรวมบุญด้วยบุญ มีผลมาก.
บุคคลเหล่าใด ระลึกถึงทักษิณาทาน เช่นนั้น เกิดความยินดี ขจัดเสียซึ่งมลทิน คือความตระหนี่ พร้อมทั้งมูลราก ในโลก ย่อมเป็นผู้ไม่ต้องตำหนิ ย่อมเข้าถึงฐานะ อันเป็นสวรรค์.
จบสุปปวาสสูตรที่ ๗
อรรถกถาสุปปวาสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุปปวาสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า ปัชชเนละ เป็นชื่อนิคมของใคร. บทว่า โกลิยานํ ได้แก่ ของโกลราชตระกูล. บทว่า อายุํ โข ปน ทตฺวา ได้แก่ ครั้นให้อายุทานแล้ว. บทว่า อายุสฺส ภาคินี โหติ ได้แก่ เป็นหญิงได้ลาภคืออายุ หรือเป็นผู้เกิดมีอายุ อธิบายว่า เป็นผู้ได้อายุ. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 193
บทว่า รสสา อุเปตํ ได้แก่ โภชนาหารประกอบด้วยรส คือ ถึงพร้อมด้วยรส. บทว่า อุชุคเตสุ ความว่า ในพระขีณาสพผู้ดำเนินตรง เพราะเว้นคดกายเป็นต้นแล้ว. บทว่า จรณูปปนฺเนสุ ความว่า ผู้ประกอบด้วย จรณธรรม ๑๕. บทว่า มหคฺคเตสุ คือผู้ถึงภูมิธรรมสูง. บทนั้นเป็นชื่อของพระขีณาสพ. บทว่า ปุญฺเน ปุญฺํ สํสนฺทมานา แปลว่า การสืบต่อบุญด้วยบุญ. บทว่า มหปฺผลา โลกวิทูน วณฺณิตา ความว่า ทักษิณา กล่าวคือทานเห็นปานนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลก ตรัสยกย่องแล้ว อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญแล้ว เพราะทรงทำโลก ๓ อย่าง ให้แจ้งแล้ว. บทว่า ยญฺมนุสฺสรนฺตา ได้แก่ ระลึกถึงยัญคือทาน. บทว่า เวทชาตา แปลว่า เกิดความยินดีแล้ว.
จบอรรถกถาสุปปวาสสูตรที่ ๗