๘. สุทัตตสูตร ว่าด้วยฐานะ ๔ ประการ
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 193
ทุติยปัณณาสก์
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑
๘. สุทัตตสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๔ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 193
๘. สุทัตตสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๔ ประการ
[๕๘] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า คฤหบดี อริยสาวกเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน ๔ ประการ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ให้สถาน ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง ครั้นให้วรรณะ สุขะ และพละแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 194
ย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) วรรณะ สุขะ และพละ อันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่า ให้สถาน ๔ ประการนี้แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย
บุคคลใดให้โภชนาหาร แก่ปฏิคาหก ผู้มีศีล ผู้บริโภคของที่คนอื่นให้ โดยเคารพตามกาลอันควร บุคคลนั้นชื่อว่าให้ สถาน ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ นรชนผู้ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ เกิดในภพใดๆ ย่อมเป็นผู้อายุยืน มียศ ในภพนั้นๆ.
จบสุทัตตสูตรที่ ๘
อรรถกถาสุทัตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สญฺตานํ ได้แก่ ปฏิคคาหกผู้สำรวมทางกายและวาจา. บทว่า ปรทตฺตโภชินํ ความว่า ผู้บริโภคของที่บุคคลอื่นให้แล้ว จึงยังอัตภาพให้เป็นไปอยู่. บทว่า กาเลน ได้แก่ ตามกาลอันควร. บทว่า สกฺกจฺจ ททาติ ความว่า ทำสักการะแล้วให้ด้วยมือของตน. บทว่า จตฺตาริ านานิ อนุปฺปเวจฺฉติ ความว่า ย่อมหลั่ง คือให้อยู่ซึ่งเหตุ ๔. บทว่า ยสวา โหติ ได้แก่ มีบริวารมาก.
จบอรรถกถาสุทัตตสูตรที่ ๘