๑๐. คิหิสามิจิสูตร ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 195
ทุติยปัณณาสก์
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑
๑๐. คิหิสามิจิสูตร
ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 195
๑๐. คิหิสามิจิสูตร
ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ
[๖๐] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ ตรัสพระธรรมเทศนาว่า คฤหบดี อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่คฤหัสถ์ อันเป็นทางให้ได้ยศ เป็นทางสวรรค์ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร ... ด้วยบิณฑบาต ... ด้วยเสนาสนะ ... ด้วยคิลานปัจจัย ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่คฤหัสถ์ อันเป็นทางให้ได้ยศ เป็นทางสวรรค์
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติปฏิปทา สมควรแก่คฤหัสถ์ คือบำรุงภิกษุผู้มีศีล ผู้ดำเนินชอบด้วยจีวร ด้วยบิณฑบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 196
เสนาสนะ และคิลานปัจจัย บุญย่อมเจริญมากแก่บัณฑิตเหล่านั้นทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน บัณฑิตเหล่านั้นครั้นทำกรรมอันเจริญแล้ว ย่อมไปสู่สถานสวรรค์.
จบคิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐
จบปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑
อรรถกถาคิหิสามิจิสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในคิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คิหิสามีจิปฏิปทํ ได้แก่ ซึ่งข้อปฏิบัติอันสมควรแก่คฤหัสถ์. บทว่า ปจฺจุปฏฺิโต โหติ ความว่า ตั้งสติไว้มั่น เพราะท่านประสงค์จะนำไปถวาย อธิบายว่า เข้าไปถวายจีวรแก่ภิกษุสงฆ์.
บทว่า อุปฏฺิตา แปลว่า ผู้บำรุง. บทว่า เตสํ ทิวา จ รตฺโต จ ความว่า ก็บัณฑิตเหล่าใด ย่อมบำรุงด้วยปัจจัย ๔ อย่างนี้ บุญย่อมเจริญแก่บัณฑิตเหล่านั้น ทุกเมื่อทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน ด้วยอำนาจการบริจาคและด้วยการระลึกถึง. บทว่า สคฺคญฺจ กมติฏฺานํ ความว่า บัณฑิตผู้เป็นเช่นนั้น ครั้นทำกรรมอันเจริญแล้ว ย่อมไปสู่สัคคสถานะ ในพระสูตรทั้ง ๔ เหล่านี้ ตรัสข้อปฏิบัติสำหรับผู้อยู่ครองเรือน ย่อมควรแก่คฤหัสถ์ผู้เป็นโสดาบันและสกทาคามีด้วย.
จบอรรถกถาคิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐
จบปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 197
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร ๓. ปฐมสังวาสสูตร ๔. ทุติยสังวาสสูตร ๕. ปฐมสมชีวิสูตร ๖. ทุติยสมชีวิสูตร ๗. สุปปวาสสูตร ๘. สุทัตตสูตร ๙. โภชนสูตร ๑๐. คิหิสามีจิสูตรและอรรถกถา.