พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อันนนาถสูตร ว่าด้วยสุข ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38852
อ่าน  480

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 205

ทุติยปัณณาสก์

ปัตตกัมมวรรคที่ ๒

๒. อันนนาถสูตร

ว่าด้วยสุข ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 205

๒. อันนนาถสูตร

ว่าด้วยสุข ๔ ประการ

[๖๒] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้รับตามกาลสมัย สุข ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

อตฺถิสุขํ สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์

โภคสุขํ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 206

อนณสุขํ สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

อนวชฺชสุขํ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

ก็สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์เป็นไฉน? โภคทรัพย์ทั้งหลายของกุลบุตรในโลกนี้ ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม มีอยู่ กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า โภคทรัพย์ทั้งหลายของเราที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม มีอยู่ ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์.

ก็สุขเกิดแต่จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นไฉน? กุลบุตรในโลกนี้บริโภค ใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า เราได้บริโภคใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ได้ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกกว่า สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค.

ก็สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้เป็นไฉน? กุลบุตรในโลกนี้ไม่กู้ยืมทรัพย์อะไรๆ ของใครๆ น้อยหรือมากก็ตาม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า เราไม่ได้กู้ยืมทรัพย์อะไร ของใครๆ น้อยหรือมากก็ตาม ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้.

ก็สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษเป็นไฉน? อริยสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม (การงานทางกาย) ที่ไม่มีโทษ ประกอบ ด้วยวจีกรรม (การงานทางวาจา) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม (การงานทางใจ) ที่ไม่มีโทษ อริยสาวกนั้นคำนึงเห็นว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม ... วจีกรรม ... มโนกรรมอันหาโทษมิได้ ดังนี้ ย่อมได้สุข โสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 207

ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้แล อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรจะ ได้รับตามกาลตามสมัย

บุคคลผู้มีปัญญาดีรู้ว่าความไม่เป็นหนี้เป็นสุข และระลึกรู้ว่าความมีทรัพย์ก็เป็นสุข เมื่อได้จ่ายทรัพย์บริโภคก็รู้ว่าการจ่ายทรัพย์บริโภคเป็นสุข อนึ่ง ย่อมพิจารณาเห็น (สุขที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน) ด้วยปัญญา เมื่อพิจารณาดู ก็ทราบว่าสุข ๔ นี้เป็น ๒ ภาค สุขทั้ง ๓ ประการข้างต้น นั้นไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ แห่งสุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

จบอันนนาถสูตรที่ ๒

อรรถกถาอันนนาถสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอันนนาถสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธิคมนียานิ คือ พึงถึง. บทว่า กามโภคินา คือ ผู้บริโภควัตถุกาม และกิเลสกาม. บรรดาสุขมีอัตถิสุขเป็นต้น สุขที่เกิดขึ้นว่า โภคทรัพย์มีอยู่ ชื่อว่าอัตถิสุข สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์. สุขที่เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ชื่อว่าโภคสุข สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค. สุขที่เกิดขึ้น ว่าเราไม่เป็นหนี้ ชื่อว่าอันณสุข สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้. สุขที่เกิดขึ้นว่าเราปราศจากโทษ ไม่เป็นโทษ ชื่อว่าอนวัชชสุข สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ไม่มีโทษ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 208

บทว่า ภุญฺชํ แปลว่า เมื่อบริโภค. บทว่า ปญฺา วิปสฺสติ แปลว่า ย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. บทว่า อุโภ ภาเค แปลว่า สองส่วน อธิบายว่า พิจารณาเห็นด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า ความสุขสามข้างต้น จัดเป็นส่วนหนึ่ง. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ จัดเป็นส่วนหนึ่ง ชื่อว่า รู้สองส่วน. บทว่า อนวชฺชสุขสฺเสตํ ความว่า สุขแม้สามอย่างนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งสุขที่เกิดแต่ประกอบการงานไม่มีโทษ ดังนี้.

จบอรรถกถาอันนนาถสูตรที่ ๒