๓. สพรหมสูตร ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 208
ทุติยปัณณาสก์
ปัตตกัมมวรรคที่ ๒
๓. สพรหมสูตร
ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 208
๓. สพรหมสูตร
ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร
[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูลทั้งหลาย ใดบูชาอยู่ในเรือนของตน ตระกูลทั้งหลายนั้นชื่อว่ามีพรหม ... มีบุรพาจารย์ ... มีบุรพเทวดา ... มีอาหุไนย ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นคำเรียก มารดาบิดาทั้งหลาย คำว่า บุรพาจารย์ ... บุรพเทวดา ... อาหุไนย นี้ก็เป็น คำเรียกมารดาบิดาทั้งหลาย ที่เรียกเช่นนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ามารดาบิดา ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้เอ็นดูประชา ชื่อว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็นอาหุไนยของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุนั่นแหละ บุตรผู้มีปัญญาพึงนอบน้อม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 209
สักการะท่าน ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า ด้วยเครื่องที่นอน ด้วยเครื่องอบ ด้วยการสนานกาย และด้วยการล้างเท้า เพราะการบำรุงมารดาบิดานั้น ในโลกนี้บัณฑิตทั้งหลายก็สรรเสริญบุตรนั้น บุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ยังบันเทิงใจในสวรรค์.
จบสพรหมสูตรที่ ๓
สพรหมสูตรที่ ๓ พรรณนาไว้แล้วในติกนิบาต. เพียงบทว่า สุปุพฺพเทวตานิ บทเดียวที่แปลกในสูตรนี้..