พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปธานสูตร ว่าด้วยความเพียร ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38859
อ่าน  439

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 219

ทุติยปัณณาสก์

ปัตตกัมมวรรคที่ ๒

๙. ปธานสูตร

ว่าด้วยความเพียร ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 219

๙. ปธานสูตร

ว่าด้วยความเพียร ๔

[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้ ปธาน ๔ คืออะไรบ้าง คือ สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน (เพียรละ) ภาวนาปธาน (เพียรบำเพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตาม รักษาไว้)

ก็สังวรปธานเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดพยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อยังอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังวรปธาน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 220

ปหานปธานเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อละอกุศลบาปธรรม ที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน.

ภาวนาปธานเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.

อนุรักขนาปธานเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดแล้วคงอยู่ ไม่เลือนหายไป ให้ภิยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่ นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปธาน ๔ ประการ

เพียรระวัง ๑ เพียรละ ๑ เพียรบำเพ็ญ ๑ เพียรตามรักษาไว้ ๑ ปธาน ๔ ประการ นี้ พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้ เป็นเครื่องให้ภิกษุผู้มีความ เพียร ในพระศาสนานี้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์.

จบปธานสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 221

อรรถกถาปธานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปธานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ความเพียร เพื่อระวังกิเลส คือ เพื่อปิดทางเข้าของกิเลสชื่อสังวรปธาน (เพียรระวัง) เพียรเพื่อละชื่อปหานปธาน (เพียรละ) เพียรเพื่อเจริญกุศลธรรม ชื่อภาวนาปธาน (เพียรบำเพ็ญ) เพียรเพื่อตามรักษากุศลธรรมเหล่านั้น ชื่ออนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้).

จบอรรถกถาปธานสูตรที่ ๙