พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. กุสินาราสูตร ว่าด้วยความสงสัยในพระรัตนตรัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38866
อ่าน  354

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 232

ทุติยปัณณาสก์

อปัณณกวรรคที่ ๓

๖. กุสินาราสูตร

ว่าด้วยความสงสัยในพระรัตนตรัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 232

๖. กุสินาราสูตร

ว่าด้วยความสงสัยในพระรัตนตรัย

[๗๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในระหว่างต้นสาละคู่ ตรงท่ามกลางวงโค้งแห่งแถวต้นสาละ ในป่าไม้สาละของคณะเจ้ามัลละ กรุงกุสินารา คราวจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ในพระธรรมก็ดี ใน พระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ในปฏิปทาก็ดี จะพึงมีแก่ภิกษุสักรูปหนึ่ง ท่านทั้งหลายจงถามเถิด อย่าต้องมีความเสียใจในภายหลังว่า พระศาสดาเสด็จอยู่ต่อหน้าเรา เราไม่อาจกราบทูลถามในที่เฉพาะพระพักตร์ได้ ดังนี้เลย เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็นิ่งอยู่ ตรัสอย่างนั้นอีก ๒ ครั้ง ภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 233

ก็คงนิ่งอยู่ จึงตรัสเตือนอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ถาม เพราะความเคารพในพระศาสดาก็เป็นได้ แม้ภิกษุที่เป็นสหายก็จงบอกแก่สหาย ต่อๆ ไปเถิด ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายก็คงนิ่งอยู่

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเลื่อมใสในหมู่ภิกษุนี้ว่า ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ในพระธรรมก็ดี ในพระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ในปฏิปทาก็ดี ไม่มีแก่ภิกษุแม้รูปเดียวในหมู่ภิกษุนี้.

พ. ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอกล่าวตามความเลื่อมใส ตถาคตหยั่งรู้ทีเดียวในข้อนี้ว่า ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ใน พระธรรมก็ดี ในพระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ในปฏิปทาก็ดี ไม่มีแก่ภิกษุแม้รูปเดียวในหมู่ภิกษุนี้ เพราะบรรดาภิกษุประมาณ ๕๐๐ นี้ ภิกษุผู้มีคุณธรรมที่สุดก็เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า.

จบกุสินาราสูตรที่ ๖

อรรถกถากุสินาราสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุสินาราสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปวตฺตเน ได้แก่ ในที่ท่ามกลางแถวต้นสาละที่อยู่ทิศตะวันออก ยืนต้นเรียงเลี้ยวโค้งไปทางทิศเหนือ. บทว่า อนฺตเร ยมกสาลานํ ได้แก่ ในระหว่างต้นสาละสองต้น. บทว่า กงฺขา ได้แก่ ความเคลือบแคลง. บทว่า วิมติ คือ ไม่สามารถจะตัดสินได้. ความย่อในข้อนี้มีดังนี้ว่า ภิกษุรูปใด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 234

พึงเกิดความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าหรือมิใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมหรือมิใช่พระธรรม พระสงฆ์หรือมิใช่พระสงฆ์ มรรคหรือมิใช่มรรค ปฏิปทาหรือมิใช่ปฏิปทา ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงถามเถิด เราจะบอกความข้อนั้น แก่ภิกษุรูปนั้น ดังนี้

บทว่า สตฺถุคารเวนปิ น ปุจฺเฉยฺยาถ ความว่า ถ้าพวกเธอไม่ถามเพราะความเคารพในพระศาสดาอย่างนี้ว่า พวกเราบวชในสำนักของพระศาสดา แม้ปัจจัย ๔ เป็นของพระศาสดาของพวกเรา พวกเราเหล่านั้นไม่สงสัย มาตลอดกาลเท่านี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทำความสงสัยในวันนี้ ซึ่งเป็นปัจฉิมกาล. ด้วยบทว่า สหายโกปิ ภิกฺขเว สหายกสฺส อาโรเจตุ ทรงแสดงว่า บรรดาพวกเธอ ภิกษุใดเป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบของภิกษุใด ภิกษุนั้นจงบอกแก่ภิกษุนั้น เราจักบอกแก่ภิกษุรูปหนึ่ง พวกเธอฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็จะพากันหายสงสัยไปสิ้น. บทว่า เอวํ ปสนฺโน ความว่า ข้าพระองค์เชื่ออย่างนี้. บทว่า าณเมว ความว่า ญาณที่ทำให้ประจักษ์ถึงภาวะที่ภิกษุไม่มีความสงสัย มิใช่เพียงความเธอของตถาคตในข้อนี้. บทว่า อิเมสํ หิ อานนฺท ความว่า บรรดาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ที่นั่งอยู่ภายในม่าน. บทว่า โย ปจฺฉิมโก ความว่า ตรัสถึงพระอานนทเถระ ซึ่งเป็นภิกษุผู้มีคุณต่ำที่สุด.

จบอรรถกถากุสินาราสูตรที่ ๖