พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. กัมโมชสูตร ว่าด้วยมาตุคาม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38870
อ่าน  415

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 241

ทุติยปัณณาสก์

อปัณณกวรรคที่ ๓

๑๐. กัมโมชสูตร

ว่าด้วยมาตุคาม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 241

๑๐. กัมโมชสูตร

ว่าด้วยมาตุคาม

[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ได้ทูลถามว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย พระพุทธเจ้าข้า มาตุคามจึงไม่นั่งในสภา ไม่ประกอบการงานใหญ่ ไม่ได้ไปนอกเมือง

พ. ตรัสตอบว่า อานนท์ มาตุคามเป็นผู้มักโกรธ มาตุคามเป็นผู้มักริษยา มาตุคามเป็นผู้มักตระหนี่ มาตุคามเป็นผู้ทรามปัญญา อานนท์ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มาตุคามไม่นั่งในสภา ไม่ประกอบการงานใหญ่ ไม่ได้ไปนอกเมือง.

จบกัมโมชสูตรที่ ๑๐

จบอปัณณกวรรคที่ ๓

อรรถกถากัมโมชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัมโมชสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เนว สภายํ นิสีทติ ความว่า มาตุคามย่อมไม่นั่งในสภาวินิจฉัย เพื่อทำการวินิจฉัย. บทว่า น กมฺมนฺตํ ปโยเชติ ความว่า ไม่ประกอบการงานใหญ่มีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น. บทว่า น กมฺโพชํ คจฺฉติ ความว่า ไม่ไปสู่แคว้นกัมโพชเพื่อรวบรวมโภคทรัพย์. ก็คำนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 242

เป็นเพียงหัวข้อเท่านั้น. อธิบายว่า ไม่ไปภายนอกแว่นแคว้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. ในบทเป็นต้นว่า โกธโน ความว่า มาตุคามถูกความโกรธกลุ้มรุมแล้ว ชื่อว่า ไม่รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เพราะความโกรธ. ชื่อว่า ไม่อดทนสมบัติคนอื่น เพราะมักริษยา. ชื่อว่า ไม่สามารถจะให้ทรัพย์ไปทำกิจที่ควรทำได้ เพราะมักตระหนี่. ชื่อว่า ไม่สามารถจะจัดทำกิจที่ควรทำได้ เพราะไม่มีปัญญา. เพราะฉะนั้น มาตุคาม จึงไม่ทำการนั่งในสภาเป็นต้นเหล่านี้แล.

จบอรรถกถากัมโมชสูตรที่ ๑๐

จบอปัณณกวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปธานสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร ๓. สัปปุริสสูตร ๔. ปฐมอัคคสูตร ๕. ทุติยอัคคสูตร ๖. กุสินาราสูตร ๗. อจินติตสูตร ๘. ทักขิณาสูตร ๙. วณิชชสูตร ๑๐. กัมโมชสูตร และอรรถกถา.