พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ตมสูตร ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38875
อ่าน  456

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 246

ทุติยปัณณาสก์

มจลวรรคที่ ๔

๕. ตมสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 246

๕. ตมสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จำพวก

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ

ตโม ตมปรายโน บุคคลมืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

ตโม โชติปรายโน บุคคลมืดมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้า

โชติ ตมปรายโน บุคคลสว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

โชติ โชติปรายโน บุคคลสว่างมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้า

ก็บุคคลมืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้าเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลช่างสานก็ดี ตระกูลพรานก็ดี ตระกูลช่างหนังก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจนขัดสน ข้าวน้ำของกิน เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค ตาบอดบ้าง เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลนั้น ยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคล มืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

บุคคลมืดแล้ว มีสว่างไปภายหน้าเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาลก็ดี ฯลฯ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 247

ใจแล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลมืดมา แล้ว มีสว่างไปภายหน้า

บุคคลสว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้าเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาสาลก็ดี ตระกูลพราหมณมหาสาลก็ดี ตระกูลคฤหบดีมหาสาลก็ดี มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทอง มีข้าวของเครื่องใช้ มีทรัพย์ธัญชาติเป็นอันมาก ทั้งมีรูปร่างสะสวยเจริญตา เจริญใจ ประกอบด้วยผิวพรรณงดงามยิ่งนัก เป็นผู้มีปกติได้ข้าวน้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลนั้น ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคล สว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

บุคคลสว่างมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้าเป็นไฉน? บุคคลบางคนใน โลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาสาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติ สุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว กาย แตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลสว่างมาแล้วมีสว่าง ไปภายหน้า

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบตมสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 248

อรรถกถาตมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลผู้ประกอบด้วยความมืดมีคำเป็นต้นว่า นีจกุเล ปจฺจาชาโต เกิดในตระกูลต่ำ ดังนี้ ชื่อว่าตมะ มืดมา. บุคคลชื่อว่ามีมืดไปภายหน้า เพราะเข้าถึงความมืดคือนรกอีก ด้วยกายทุจริตเป็นต้น แม้ด้วยบททั้งสองดังกล่าว เป็นอันตรัสถึงความมืดแห่งขันธ์เท่านั้น. บุคคลชื่อสว่างมา เพราะประกอบด้วยความสว่างมีคำเป็นต้นว่า อฑฺฒกุเล ปจฺจาชาโต (เกิดในตระกูลมั่งคั่ง) ท่านอธิบายว่า เป็นผู้สว่างไสวดังนี้. บุคคลชื่อว่ามีสว่างไปภายหน้า เพราะเข้าถึงความสว่างด้วยการเข้าถึงสวรรค์อีก ด้วยกายสุจริตเป็นต้น พึงทราบสองบทแม้นอกนี้ โดยนัยนี้.

บทว่า เวนกุเล ได้แก่ ในตระกูลช่างสาน. บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่ในตระกูลพรานล่าเนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ ในตระกูลช่างหนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ ในตระกูลคนรับจ้างเทขยะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงตระกูลวิบัติ ด้วยเหตุประมาณเท่านี้แล้ว เพราะเหตุที่บุคคลบางคนถึงจะเกิดในตระกูลคนรับจ้างเทขยะ ก็มั่งคั่งมีทรัพย์มากได้ แต่บุคคลผู้นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงโภควิบัติของบุคคลนั้น จึงตรัสว่า ทลิทฺเท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทลิทฺเท ได้แก่ ประกอบด้วยความจน มีข้าวน้ำและของกินน้อย. บทว่า กสิรวุตฺติเก ได้แก่ เป็นอยู่ด้วยความทุกข์. อธิบายว่า ให้เขาถึงตระกูลที่คนทั้งหลายให้เขายินดีด้วยความพยาม. บทว่า ยตฺถ กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ ความว่า เขาได้ข้าวต้มข้าวสวยและอาหาร หรือเครื่องนุ่งห่มพอปิดอวัยวะ ด้วยความ ลำบากในตระกูลใด.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 249

เพราะเหตุที่บุคคลแม้เกิดในตระกูลนี้ เป็นผู้พร้อมด้วยอุปธิสมบัติ ตั้งอยู่ในความสำเร็จแห่งอัตภาพ แต่บุคคลผู้นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงวิบัติทางร่างกายของเขา จึงตรัสว่า โส จ โหติ ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺโณ ความว่า เป็น คนมีผิวดุจตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น. บทว่า ทุทฺทสิโก ความว่า แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าเห็นเข้าก็ไม่พอใจ. บทว่า โอโกฏิมโก ได้แก่ เป็นคนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ ตาบอดข้างเดียวบ้าง ตาบอดสองข้างบ้าง. บทว่า กุณี ได้แก่ มีมือพิการข้างเดียวบ้าง มีมือพิการทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า ขญฺโช ได้แก่ มีขาเขยกข้างเดียวบ้าง มีขาเขยกทั้งสองข้างบ้าง บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ เป็นอัมพาตไปแถบหนึ่ง.

บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ของประทีปมีน้ำมัน และตัวภาชนะเป็นต้น. ในบทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว นี้ บุคคลคนหนึ่ง ยังไม่ทันเห็นแสงสว่างในภายนอก ตายในครรภ์ของมารดาแล้ว บังเกิดในอบาย เวียนว่ายอยู่สิ้นทั้งกัป แม้บุคคลนั้น ก็ชื่อว่ามืดมาแล้วมืดไปภายหน้า. ก็เขาพึงเป็นบุคคลหลอกลวง. ท่านอธิบายว่า ด้วยว่าคนหลอกลวงได้รับผลสำเร็จ เห็นปานนี้ดังนี้. ในบทเหล่านี้ ทรงแสดงถึงการมาวิบัติ และปัจจัยในปัจจุบันวิบัติ ด้วยบทว่า นีเจ กุเล เป็นต้น. ทรงแสดงปัจจัยที่เป็นไปแล้ววิบัติ ด้วยบทว่า ทลิทฺเท เป็นต้น. ทรงแสดงอุบายเลี้ยงชีพวิบัติ ด้วยบทว่า กสิรวุตฺติเก เป็นต้น. ทรงแสดงอัตภาพวิบัติ ด้วยบทว่า ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น. ทรงแสดงเหตุแห่งทุกข์ที่มาประจวบเข้า ด้วยบทว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น. ทรงแสดงเหตุแห่งสุขวิบัติ และเครื่องอุปโภควิบัติ ด้วยบทว่า น ลาภี เป็นต้น. ทรงแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไปภายหน้ามาประจวบเข้า ด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 250

บทว่า กาเยน ทุจฺจริตํ เป็นต้น. ทรงแสดงการเข้าถึงความมืดในสัมปรายภพ ด้วยบทว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น. สุกกปักข์ (ฝ่ายดี) พึงทราบโดยนัย ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาตมสูตรที่ ๕