พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ทิฏฐิสูตร ว่าด้วยสมณะ ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38879
อ่าน  353

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 258

ทุติยปัณณาสก์

มจลวรรคที่ ๔

๙. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 258

๙. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 259

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีอาชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ มีญาณชอบ มีวิมุตติชอบ แต่ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีวิมุตติชอบ ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กายด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดย ไม่มีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะ สุขุมาลในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 260

อรรถกถาทิฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ด้วยบทเป็นต้นว่า สมฺมาทิฏฺิโก ทรงหมายถึงพระเสขะ ๗ จำพวก เหมือนในสูตรแรก ด้วยอำนาจมรรคมีองค์ ๘. วาระที่สอง ตรัสพระขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน พร้อมด้วยอรหัตตผลญาณ และอรหัตตผลวิมุตติ ด้วยอำนาจแห่งมรรคมีองค์ ๑๐ หรือด้วยอำนาจแห่งมรรค มีองค์ ๘. ในวาระที่สาม ตรัสพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุต. วาระที่สี่ ตรัสถึงพระตถาคต และพระขีณาสพเช่นกับพระตถาคตอย่างนี้. ดังนั้น พระสูตรนี้ ตรัสด้วยอำนาจบุคคลที่กล่าวในสูตรแรก แต่ในพระสูตรนี้ต่างกัน เพียงเทศนาเท่านั้น.

อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๙