พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทุติยสมาธิสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก ที่ ๒

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38883
อ่าน  398

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 265

ทุติยปัณณาสก์

อสุรวรรคที่ ๕

๓. ทุติยสมาธิสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก ที่ ๒


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 265

๓. ทุติยสมาธิสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๒

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา ฯลฯ บางคนได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดที่ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในความสงบใจในภายใน แล้วทำการประกอบความเพียรในอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนาต่อไป บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 266

บุคคลใดที่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายใน บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนาแล้วทำการประกอบ ความเพียรในความสงบใจในภายใน ต่อไป บุคคลนั้นก็ย่อมจะได้ทั้งอธิปัญญา และธัมมวิปัสสนา ทั้งความสงบใจในภายใน

บุคคลใดที่ไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรกระทำฉันทะ พยายาม อุตสาหะ พากเพียรอย่าง แข็งขัน ไม่ท้อถอย และทำสติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมทั้ง ๒ นั้นจงได้ เปรียบเหมือนคนที่ไฟไหม้ผ้าก็ดี ไหม้ศีรษะก็ดี พึงกระทำฉันทะ พยายาม อุตสาหะ พากเพียร ไม่เฉื่อยเฉย และตั้งสติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อจะดับเสียซึ่งผ้าหรือศีรษะ (ที่ไหม้อยู่นั้น) ฉันใด บุคคลนั้นก็ควรกระทำ ฉันทะ พยายาม อุตสาหะ พากเพียร อย่างแข็งขัน ไม่ท้อถอย และทำสติ สัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมทั้ง ๒ นั้นจงได้ฉันนั้น ต่อไป บุคคล นั้นก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลใดที่ได้ทั้งความสงบใจในภายในทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง ๒ นั้น แล้วทำการประกอบความเพียร เพื่อความสิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทุติยสมาธิสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุติยสมาธิสูตร

พึงทราบ วินิจฉัยในทุติยสมาธิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โยโค กรณีโย ความว่า พึงทำความประกอบขวนขวาย. บทว่า ฉนฺโท คือกัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจใคร่จะทำ. บทว่า วายาโม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 267

คือความเพียร. บทว่า อุสฺสาโห คือความเพียรยิ่งกว่าวายามะนั้น บทว่า อุสฺโสฬฺหี ความว่า ความเพียรมาก เสมือนยกเกวียนที่ติดหล่ม. บทว่า อปฺปฏิวานี ได้แก่ ไม่ถอยกลับ.

จบอรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ ๓