พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. นิสันติสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก ที่ ๖

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38887
อ่าน  488

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 273

ทุติยปัณณาสก์

อสุรวรรคที่ ๕

๗. นิสันติสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก ที่ ๖


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 273

๗. นิสันติสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๖

[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนจำพวก ๑ บุคคลไม่ปฏิบัติ ทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑

ก็แลบุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งเป็นผู้มีอุปนิสัย ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ เป็นผู้รู้อรรถทั่วถึงแล้ว รู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ไม่เป็นผู้มีถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ประกอบด้วยถ้อยคำของชาวเมือง ถ้อยคำที่สละสลวย ไม่มีโทษ ทำให้รู้ เนื้อความง่าย และไม่แสดง (ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง อย่างนี้แล บุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่เป็นผู้มีอุปนิสัยทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ และหารู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 274

ธรรมไม่ แต่เป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำอ่อนหวาน ประกอบด้วยถ้อยคำของชาวเมือง ถ้อยคำที่สละสลวย ไม่มีโทษ ทำให้รู้เนื้อความง่ายและแสดง (ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่เป็นผู้มีอุปนิสัยทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว ไม่เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ และหารู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ซ้ำไม่เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ไม่เป็นผู้มีถ้อยคำอ่อนหวานไม่ประกอบด้วย ถ้อยคำของชาวเมือง ถ้อยคำที่สละสลวย หาโทษมิได้ ทำให้รู้เนื้อความง่าย และไม่แสดง (ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง อย่างนี้แล บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อ ประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งเป็นผู้มีอุปนิสัย ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เป็นผู้รู้อรรถทั่วถึงแล้ว รู้ธรรมทั่วถึงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำอ่อนหวาน ประกอบด้วยถ้อยคำของชาวเมือง ถ้อยคำสละสลวย ปราศจากโทษ ทำให้รู้เนื้อความง่าย และเป็นผู้แสดง (ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วย อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบนิสันติสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 275

อรรถกถานิสันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิสันติสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ขิปฺปนิสนฺติ ความว่า บุคคลตั้งใจฟังสามารถรู้ได้เร็ว. บทว่า ธตานญฺจ ธมฺมานํ ความว่า ธรรมที่เป็นบาลีแบบอย่าง ทรงจำได้คล่องแคล่ว. บทว่า อตฺถุปปริกฺขิ ความว่า เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความ บทว่า อตฺถมญฺาย ธมฺมมญฺาย ความว่า รู้ถึงอรรถกถาและบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมทั้งศีล. เป็นธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙. บทว่า โน จ กลฺยาณวาโจ โหติ ความว่า แต่เป็นคนพูดไม่ดี. บทว่า น กลฺยาณวากฺกรโณ ความว่า เป็นคนมีเสียงไม่ไพเราะ. โน อักษร ควรประกอบกับบทว่า โปริยา เป็นต้น. ความว่า ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยวาจา ซึ่งสามารถชี้แจงให้เขาเข้าใจเนื้อความด้วยบทและพยัญชนะอันมิได้อยู่ในคอ เต็มด้วยคุณ ไม่ตะกุกตะกัก ไม่มีโทษ. ในบททั้งปวง ก็พึงทราบเนื้อความ โดยอุบายนี้.

จบอรรถกถานิสันติสูตรที่ ๗