พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. โปตลิยสูตร ว่าด้วยโปตลิยปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38890
อ่าน  386

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 277

ทุติยปัณณาสก์

อสุรวรรคที่ ๕

๑๐. โปตลิยสูตร

ว่าด้วยโปตลิยปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 277

๑๐. โปตลิยสูตร

ว่าด้วยโปตลิยปริพาชก

[๑๐๐] ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อโปตลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า โปตลิยะ บุคคล จำพวกนี้ ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 278

คือบุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวติคนที่ควรติ ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร แต่ไม่กล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร แต่ไม่กล่าวที่คนที่ควรติ ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคล จำพวกหนึ่ง ทั้งไม่กล่าวติคนที่ควรติ ทั้งไม่กล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่อง ที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวติคนที่ควรติบ้าง กล่าวชมคนที่ควรชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑ นี้แล บุคคล จำพวก มีปรากฏอยู่ ในโลก โปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลจำพวกไหนชอบใจท่านว่าดีกว่าประณีตกว่า

โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่ทั้งไม่กล่าวติคนที่ควรติ ทั้งไม่กล่าวชมคนที่ควรชม นี้ชอบใจข้าพระพุทธเจ้าว่าดีกว่าสูงกว่า เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าอุเบกขา (ความวางเฉย) นั่นเป็นการดี

พ. ตรัสค้านว่า โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่กล่าวติคนที่ควรติบ้าง กล่าวชมคนที่ควรชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร นี้ชอบใจเราว่าดีกว่า ประณีตกว่า เพราะเหตุอะไร เพราะความเป็นผู้รู้จักกาลในสถานนั้นๆ นั่น เป็นการดี

โปตลิยปริพาชกกราบทูลเห็นด้วยตามพระพุทธดำรัส และประกาศ ตนเป็นอุบาสกว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่กล่าวติคนที่ควรติบ้าง กล่าวชมคนที่ควรชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร นี้ชอบใจข้าพระพุทธเจ้าว่า ดีกว่าประณีตกว่า นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ความเป็นผู้รู้จักกาล ในสถานนั้นๆ นั่นเป็นการดี ดีจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 279

ประกาศธรรมหลายปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดเผยของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่องตะเกียงในเวลามืดให้คนมีตาดีได้เห็นรูปต่างๆ ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระพุทธเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ไป.

จบโปตลิยสูตรที่ ๑๐

จบอสุรวรรคที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

อรรถกถาโปตลิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโปตลิยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเลน ความว่า ตามกาลอันควรอันเหมาะ. บทว่า ขมติ คือชอบใจ บทว่า ยทิทํ ตตฺร ตตฺร กาลญฺญุตา ความว่า การรู้จักกาลในสถานที่นั้นๆ ท่านแสดงว่า การรู้กาลนั้นๆ แล้วกล่าวติคนที่ควรติ และกล่าวชมคนที่ควรชม เป็นปกติของบัณฑิตทั้งหลาย.

จบอรรถกถาโปตลิยสูตรที่ ๑๐

จบอสุวรรควรรณนาที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสุรสูตร ๒. ปฐมสมาธิสูตร ๓. ทุติยสมาธิสูตร ๔. ตติยสมาธิสูตร ๕. ฉวาลาตสูตร ๖. ราคสูตร ๗. นิสันติสูตร ๘. อัตตหิตสูตร ๙. สิกขาสูตร ๑๐. โปตลิยสูตร และอรรถกถา.