พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ชวสูตร ว่าด้วยสมบัติ ๔ ของม้าอาชาไนยกับของภิกษุสงฆ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38902
อ่าน  344

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 301

ตติยปัณณาสก์

เกสีวรรคที่ ๒

๒. ชวสูตร

ว่าด้วยสมบัติ ๔ ของม้าอาชาไนยกับของภิกษุสงฆ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 301

๒. ชวสูตร

ว่าด้วยสมบัติ ๔ ของม้าอาชาไนยกับของภิกษุสงฆ์

[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ชื่อตรงประการ ๑ ว่องไวประการ ๑ อดทนประการ ๑ สงบเสงี่ยมประการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้แล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 302

ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ซื่อตรงประการ ๑ ว่องไวประการ ๑ อดทนประการ ๑ สงบเสงี่ยมประการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.

จบชวสูตรที่ ๒

อรรถกถาชวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในชวสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาชฺชเวน คือซื่อตรง. บทว่า ชเวน คือฝีเท้าเร็ว. บทว่า ขนฺติยา ได้แก่มีความอดทน คือ อดกลั้น. บทว่า โสรจฺเจน คือมีความแช่มชื่นเป็นปกติ. ในองค์แห่งคุณของบุคคล บทว่า ชเวน ได้แก่ด้วยกำลังเร็วแห่งญาณ. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาชวสูตรที่ ๒