พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมภยสูตร ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38912
อ่าน  418

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 318

ตติยปัณณาสก์

ภยวรรคที่ ๓

๑. ปฐมภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 318

ภยวรรคที่ ๓

๑. ปฐมภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน? คือ อัตตานุวาทภัย ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง ๑ ปรานุวาทภัย ภัยเกิดแต่ผู้อื่นติเตียน ๑ ทัณฑภัย ภัยเกิดแต่อาญา ๑ ทุคติภัย ภัยเกิดแต่ ทุคติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อัตตานุวาทภัย เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็เราแล พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริตด้วยใจ ไฉนตัวเรา จะไม่พึงติเตียนเราโดยศีลได้เล่าดังนี้ เขากลัวต่อภัยเกิดแต่การติเตียนตัวเรา จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมรักษาตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่าอัตตานุวาทภัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปรานุวาทภัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็เราแล พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริตด้วยใจ ไฉนคนอื่น จะไม่พึงติเตียนเราโดยศีลได้เล่า ดังนี้ เขากลัวต่อภัยเกิดแต่คนอื่นติเตียน จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมรักษาตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่าปรานุวาทภัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทัณฑภัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นเจ้านายจับโจรผู้ประพฤติชั่วช้ามาลงกรรมกรณ์ต่างๆ คือโบยด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง ตัดมือบ้าง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 319

ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีหม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีขอดสังข์ บ้างลงกรรมกรณ์ วิธีปากราหูบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีมาลัยไฟบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีคบมือบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีริ้วส่ายบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีนุ่งเปลือกไม้บ้าง ลงกรรมกรณ์ วิธียืนกวางบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีเหยื่อเกี่ยวเบ็ดบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีเหรียญกษาปณ์บ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีแปรงแสบบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีกางเกวียนบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีตั่งฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันกำลังเดือดบ้างให้สุนัขกัดบ้าง ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง บุคคลนั้นจึงมีความปริวิตก อย่างนี้ว่า เจ้านายจับโจรผู้ประพฤติชั่วช้ามาลงกรรมกรณ์ต่างๆ คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เพราะเหตุแห่งกรรมอันลามกเห็นปานใด ถ้าเราพึงจะทำกรรมอันลามกเห็นปานนั้นบ้าง เจ้านายจะพึงจับเราไปลงกรรมกรณ์ต่างๆ เห็นปานนั้น คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เขากลัวต่อภัยคืออาญา ไม่กล้าชกชิงทรัพย์ของผู้อื่น นี้เรียกว่าทัณฑภัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุคติภัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริต ในภายหน้า ชั่วร้าย วิบากของวจีทุจริตในภายหน้า ชั่วร้าย วิบากของมโนทุจริตในภายหน้า ชั่วร้าย ก็เราแล พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริตด้วยใจ ข้อนั้นจะมีอะไรเล่า เมื่อกายแตกตายไป เราจะพึง เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เขากลัวต่อทุคติภัย ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมบริหารคนให้หมดจดได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุคติภัย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล.

จบปฐมภยสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 320

ภยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมภยสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตานุวาทภยํ ได้แก่ ภัยเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ติเตียนตน. บทว่า ปรานุวาทภยํ ได้แก่ ภัยเกิดจากการติของผู้อื่น. บทว่า ทณฺทภยํ ได้แก่ ภัยเกิดเพราะอาศัยกรรมกรณ์ ๓๒. บทว่า ทุคฺคติภยํ ได้แก่ ภัย เกิดเพราะอาศัยอบาย ๔. ในคำเป็นต้นว่า อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว อตฺตานุวาทภยํ ก่อนอื่นหิริภายในย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเห็นอัตตานุวาทภัย หิริ นั้นย่อมยังความสำรวมให้เกิดในไตรทวารของเขา ความสำรวมในไตรทวาร จัดเป็นจตุปาริสุทธิศีล เธอตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาย่อมตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. ส่วนโอตตัปปะภายนอก ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเห็นปรานุวาทภัย และทัณฑภัย โอตตัปปะนั้น ย่อมยังความสำรวมให้เกิดในไตรทวารของเขา. ความสำรวมในไตรทวาร จัดเป็นจตุปาริสุทธิศีล. เธอตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาย่อมตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. หิริ ภายในย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเห็นทุตติภัย หิรินั้นย่อมยังความสำรวมให้เกิดในไตรทวารของเขา. ความสำรวมในไตรทวาร จัดเป็นจตุปาริสุทธิศีล. เธอตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาย่อมตั้งอยู่ในผลอันเลิศ.

จบอรรถกถาปฐมภยสูตรที่ ๑