พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยภยสูตร ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38913
อ่าน  534

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 321

ตติยปัณณาสก์

ภยวรรคที่ ๓

๒. ทุติยภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 321

๒. ทุติยภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ คนผู้ลงน้ำจะพึงหวังได้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ ภัยคือคลื่น ๑ ภัยคือจระเข้ ๑ ภัยคือ น้ำวน ๑ ภัยคือปลาฉลาม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล คนผู้ลงน้ำพึงหวังได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ฉันนั้น เหมือนกันแล ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภัยคือคลื่น ๑ ภัยคือจระเข้ ๑ ภัย คือน้ำวน ๑ ภัยคือปลาฉลาม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือคลื่นเป็นไฉน กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เรา ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตนอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉนการกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เธอบวชอย่างนั้นแล้ว เพื่อนสพรหมจารีตักเตือน สั่งสอนว่า ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลดูอย่างนี้ พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงทรงสังฆาฏิบาตรและจีวรอย่างนี้ เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์มีแต่จะ ควรตัดเตือนสั่งสอนผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้คราวลูกคราวหลานของเรา สำคัญเราว่า ควรตักเตือนสั่งสอน เธอโกรธเคืองแค้นใจ บอกคืนสิกขาลาเพศ ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้กลัวต่อภัยคือคลื่น บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย คือคลื่นนี้ เป็นชื่อแห่งความโกรธและความแค้นใจ นี้เรียกว่า ภัยคือคลื่น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 322

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือจระเข้เป็นไฉน กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เธอบวชอย่างนั้นแล้ว เพื่อนสพรหมจารีตักเตือนสั่งสอนว่า สิ่งนี้เธอควรเคี้ยว สิ่งนี้ไม่ควรเคี้ยว สิ่งนี้ควรบริโภค สิ่งนี้ไม่ควรบริโภค สิ่งนี้ควรลิ้ม สิ่งนี้ไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้ควรดื่ม สิ่งนี้ไม่ควรดื่ม ของเป็นกัปปิยะเธอควรเคี้ยว ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรเคี้ยว ของเป็นกัปปิยะเธอควรบริโภค ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรบริโภค ของเป็นกัปปิยะเธอควรลิ้ม ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรลิ้ม ของเป็นกัปปิยะเธอควรดื่ม ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรดื่ม เธอควรเคี้ยวในกาล เธอไม่ควรเคี้ยวในวิกาล เธอควรบริโภคในกาล เธอไม่ควรบริโภคในวิกาล เธอควรลิ้มในกาล เธอไม่ควรลิ้มในวิกาล เธอควรดื่มในกาล เธอไม่ควรดื่มในวิกาล เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาสิ่งใดก็เคี้ยวสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่เคี้ยวสิ่งนั้น ปรารถนาสิ่งใดก็บริโภคสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่บริโภคสิ่งนั้น ปรารถนาสิ่งใดก็ลิ้มสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ลิ้มสิ่งนั้น ปรารถนาสิ่งใดก็ดื่มสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ดื่มสิ่งนั้น ย่อมเคี้ยวสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง ย่อมบริโภคสิ่งที่เป็นกัปปิยยะบ้าง สิ่งที่ไม่เป็นอกัปปิยะบ้าง ย่อมลิ้มสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง ย่อมดื่มสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง ย่อมเคี้ยวในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง ย่อมบริโภคในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง ย่อมดื่มในกาลบ้าง ในวิกาลบ้าง คฤหบดีผู้มีศรัทธาย่อมถวายของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภค แม้ใด อันประณีต ในกลางวัน ในเวลาวิกาลแก่เราทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 323

ย่อมกระทำเสมือนหนึ่งปิดปากแม้ในของเหล่านั้น เธอโกรธเคืองแค้นใจ บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัยคือจระเข้นี้แล เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง นี้เรียกว่า ภัยคือจระเข้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือน้ำวนเป็นไฉน? กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เธอบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคฤหบดีในบ้านหรือในนิคมนั้น เพียบพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ เธอคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์เพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ ก็โภคสมบัติในสกุลของเรามีพร้อม เราอาจเพื่อจะบริโภคโภคะ ทั้งหลายและทำบุญได้ ถ้ากระไร เราพึงบอกคืนสิกขาลาเพศ แล้วบริโภคโภคะทั้งหลายและทำบุญเถิด เธอย่อมบอกคืนสิกขาลาเพศ ภิกษุนี้เรียกว่า กลัวต่อภัยคือน้ำวน บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัยคือ น้ำวนนี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ นี้เรียกว่า ภัยคือน้ำวน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือปลาฉลามเป็นไฉน? กุลบุตรบางคน ในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เธอบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามในบ้านหรือในนิคมนั้น นุ่งไม่เรียบร้อย หรือห่ม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 324

ไม่เรียบร้อย ราคะย่อมรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อย หรือห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตอันราคะรบกวน ย่อมบอกคืนสิกขาลาเพศ ภิกษุนี้เรียกว่า กลัวต่อภัยคือปลาฉลาม บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัยคือปลาฉลามนี้เป็นชื่อของมาตุคาม นี้เรียกว่า ภัยคือ ปลาฉลาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ในธรรมวินัยนี้ จะพึงหวังได้.

จบทุติยภยสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยภยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทโกโรหนฺตสฺส คือคนผู้ลงสู่น้ำ. บทว่า ปาฏิกงฺขิ- ตพฺพานิ ได้แก่ พึงปรารถนา. บทว่า สุสุกาภยํ ได้แก่ภัยคือปลาร้าย. บทว่า มุขาวรณํ มญฺเ กโรนุติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมทำเหมือน ปิดปาก. บทว่า โอทริกตฺตสฺส แปลว่า ของคนกินจุ เพราะมีท้องใหญ่. ในบทว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้น พึงทราบความดังนี้ เธอมีกาย ไม่รักษาแล้ว เพราะไม่มีการสำรวม ๓ อย่างในกายทวาร มีวาจาไม่รักษาแล้ว เพราะไม่มีการสำรวม ๔ อย่างในวจีทวาร.

จบอรรถกถาทุติยสูตรที่ ๒