พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยฌานสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38915
อ่าน  360

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 329

ตติยปัณณาสก์

ภยวรรคที่ ๓

๔. ทุติยฌานสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 329

๔. ทุติยฌานสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณา เห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อ ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปถึงปุถุชน.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น บุคคลนั้นย่อมพิจารณา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 330

เห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปถึงปุถุชน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

จบทุติยฌานสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยฌานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฌานสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

รูปนั้นแหละ ชื่อว่า รูป. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้แล ในบท เป็นต้นว่า อนิจฺจโต มีวินิจฉัยว่า บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยอรรถว่ามีแล้วไม่มี. เป็นดังโรคด้วยอรรถว่า ป่วยไข้ เป็นดังหัวฝีด้วยอรรถว่าประทุษร้ายภายใน เป็นดังลูกศรด้วยอรรถว่า แทงเข้าไป เป็นความลามก ด้วยอรรถว่ามีความทนทุกข์ เป็นอาพาธด้วยอรรถว่า บีบคั้น เป็นอื่นด้วยอรรถว่า ว่าไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไปด้วยอรรถว่า ย่อยยับ เป็นของว่างเปล่าด้วยอรรถว่า มิใช่สัตว์ เป็นของมิใช่ตนด้วยอรรถว่า ไม่อยู่ในอำนาจ. ก็ในข้อนี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวอนิจจลักษณะด้วยสองบทว่า อนิจฺจโต ปโลกโต. ท่านกล่าวอนัตตลักขณะด้วยสอง บทว่า สุญฺโต อนตฺถโต. ท่านกล่าวทุกขลักขณะด้วยบทที่เหลือ. บทว่า สมนุปสฺสติ คือ พิจารณาเห็นด้วยฌาน. บุคคลเมื่อยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ พิจารณาเห็นอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 331

ย่อมทำให้แจ้งซึ่งมรรคสาม ผลสาม. บทว่า สุทฺธาวาสานํ เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺชติ ความว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในชั้นสุทธาวาสนั้น ต้องเจริญจตุตถฌาน แล้ว จึงจะเกิดขึ้น.

จบอรรถกถาทุติยฌานสูตรที่ ๔