พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ตติยอัจฉริยสูตร ว่าด้วยความอัศจรรย์ ๔ ในพระอานนท์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38920
อ่าน  419

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 342

ตติยปัณณาสก์

ภยวรรคที่ ๓

๙. ตติยอัจฉริยสูตร

ว่าด้วยความอัศจรรย์ ๔ ในพระอานนท์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 342

๙. ตติยอัจฉริยสูตร

ว่าด้วยความอัศจรรย์ ๔ ในพระอานนท์

[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้ ในพระอานนท์ ๔ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ ภิกษุบริษัทนั้นย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยการเห็น ถ้าอานนท์กล่าวธรรมในบริษัทนั้น ภิกษุบริษัทนั้น ย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยคำที่กล่าวนั้น ภิกษุบริษัทนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มเลย ถ้าอานนท์เป็นผู้นิ่ง.

ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ ...

ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ ...

ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ อุบาสิกาบริษัทนั้นย่อมมีใจยินดี แม้ด้วยการเห็น ถ้าอานนท์กล่าวธรรมในบริษัทนั้น อุบาสิกาบริษัทนั้น ย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยคำที่กล่าวนั้น อุบาสิกาบริษัทนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มเลย ถ้าอานนท์ เป็นผู้นิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้แล ใน พระอานนท์.

จบตติยอัจฉริยสูตรที่ ๙

อรรถกถาตติยอัจฉริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยอัจฉริยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภิกฺขุปริสา อานนฺทํ ทสฺสนาย ความว่า ภิกษุเหล่าใด ประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เข้าไปหาพระเถระ หรือภิกษุเหล่าใด ได้ฟังคุณความดีของพระเถระว่า ได้ยินว่า ท่านพระอานนท์น่าเลื่อมใสรอบด้าน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 343

งานน่าชม เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ผู้ทำหมู่ให้งามดังนี้ จึงพากันมา ทรงหมายถึงภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสว่า ภิกษุบริษัทไปเยี่ยมอานนท์ ดังนี้. ในบททุกบทก็นัยนี้. บทว่า อตฺตมนา ความว่า ภิกษุบริษัทนั้นมีใจชื่นชม คือ มีจิตยินดีว่า การเห็นของเราสมกับการฟังมา. บทว่า ธมฺมํ ความว่า ท่านกล่าวธรรมต้อนรับเห็นปานนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สบายดีหรือ พอยังชีพเป็นไปได้อยู่หรือ ท่านทั้งหลาย ยังทำกิจกรรมในโยนิโสมนสิการอยู่หรือ ท่านยังบำเพ็ญอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรอยู่หรือดังนี้. บรรดาบุคคลเหล่านั้น ในภิกษุณีก็จะกล่าวปฏิสันถารต่างกันดังนี้ว่า น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ยังสมาทานครุธรรม ๘ ประพฤติอยู่หรือดังนี้. ในอุบาสกทั้งหลาย ท่านจะไม่ทำปฏิสันการอย่างนี้ ด้วยคำว่า อุบาสกมาดีแล้ว ท่านไม่ปวดศีรษะ หรืออวัยวะบ้างหรือ บุตรพี่น้องชายของท่านไม่มีโรคภัยหรือดังนี้ แต่ท่านจะทำปฏิสันถารอย่างนี้ว่า อุบาสกเป็นอย่างไร จงรักษาสรณะ ๓ ศีล ๕ จงทำอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้งไว้เถิด จงเลี้ยงดูมารดาบิดา จงบำรุงสมณพราหมณ์ ผู้ทรงธรรมเถิดดังนี้. แม้ในอุบาสิกาทั้งหลายก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาตติยอัจฉริยสูตรที่ ๙