๙. ธัมมกถิกสูตร ว่าด้วยธรรมกถึก ๔ จําพวก
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 357
ตติยปัณณาสก์
ปุคคลวรรคที่ ๔
๙. ธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยธรรมกถึก ๔ จําพวก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 357
๙. ธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยธรรมกถึก ๔ จำพวก
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ กล่าวธรรมน้อย และไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ไม่ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับบริษัทเห็นปานนั้น ๑ อนึ่ง ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวธรรมน้อย และประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับบริษัท เป็นปานนั้น ๑ อนึ่ง ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวธรรมมาก แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ไม่ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับบริษัทเห็นปานนั้น ๑ อนึ่ง ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวธรรมมาก และประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับบริษัทเห็นปานนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้แล.
จบธัมมกถิกสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 358
อรรถกถาธัมมกถิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในธัมมกถิกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสหิตํ คือ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. บทว่า น กุสลา โหติ คือ เป็นผู้ฉลาด. บทว่า สหิตาสหิตสฺส ความว่า ต่อสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์. เนื้อความในบ ทั้งปวงพึงทราบอย่างนี้.
จบอรรถกถาธัมมกถิกสูตรที่ ๙