พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. วาทีสูตร ว่าด้วยนักพูด ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38932
อ่าน  410

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 358

ตติยปัณณาสก์

ปุคคลวรรคที่ ๔

๑๐. วาทีสูตร

ว่าด้วยนักพูด ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 358

๑๐. วาทีสูตร

ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน? นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่ โอกาส.

จบวาทีสูตรที่ ๑๐

จบปุคคลวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 359

อรรถกถาวาทีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวาทีสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถโต ปริยาทานํ คจฺฉติ ความว่า นักพูดถูกถามถึง คำอรรถก็ยอมจำนนสิ้นท่าไม่สามารถจะตอบโต้. บทว่า โน พฺยญฺชนโต ความว่า แต่พยัญชนะของเขายังไปได้ ก็ไม่ยอมจำนน. ในบททุกบทก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาวาทีสูตรที่ ๑๐

จบปุคคลวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังโยชนสูตร ๒. ปฏิภาณสูตร ๓. อุคฆฏิตัญญุสูตร ๔. อุฏฐานสูตร ๕. สาวัชชสูตร ๖. ปฐมสีลสูตร ๗. ทุติยสีลสูตร ๘. นิกกัฏฐสูตร ๙. ธัมมกถิกสูตร ๑๐. วาทีสูตร และอรรถกถา.