พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ทุติยกาลสูตร ว่าด้วยกาล ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38939
อ่าน  382

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 364

ตติยปัณณาสก์

อาภาวรรคที่ ๕

๗. ทุติยกาลสูตร

ว่าด้วยกาล ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 364

๗. ทุติยกาลสูตร

ว่าด้วยกาล ๔

[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ เปลี่ยนแปลงโดยชอบอยู่ ย่อมจะยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล ๔ คืออะไร คือ ฟังธรรมตามกาล ๑ สนทนาธรรมตามกาล ๑ ทำสมถะตามกาล ๑ ทำวิปัสสนาตามกาล ๑ นี้แลกาล ๔ บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ เปลี่ยนแปลงโดยชอบอยู่ ย่อมจะยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดย ลำดับ

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหนาตกบนภูเขา น้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขาและลำรางทางน้ำให้เต็ม ซอกเขาและลำรางทางน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ย่อมยังคลองให้เต็ม คลองเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำให้เต็ม แม่น้ำเต็มแล้ว ย่อมยังทะเลให้เต็ม ฉันใด กาล ๔ นี้ เมื่อบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ เปลี่ยนแปลงโดยชอบอยู่ ย่อมยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับฉันนั้นแล.

จบทุติยกาลสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 365

อรรถกถาทุติยกาลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกาลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาลา นั่นเป็นชื่อแห่งกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจการฟังธรรมเป็นต้นในกาลนั้นๆ กาลเหล่านั้น จักแจ่มชัด และจักเป็นไป. บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต.

จบอรรถกถาทุติยกาลสูตรที่ ๗