พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. โมคคัลลานสูตร ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38960
อ่าน  386

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 397

จตุตถปัณณาสก์

ปฏิปทาวรรคที่ ๒

๗. โมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 397

๗. โมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ

[๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวถ้อยคำ ที่ทำให้เกิดความยินดีต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้ถามพระมหาโมคคัลลานะว่า อาวุโส โมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฏิปทาอย่างไหน ในปฏิปทา ๔ นี้

พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า อาวุโสสารีบุตร ปฏิปทา ๔ นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา

จบโมคคัลลานสูตรที่ ๗

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระมหาโมคคัลลานเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา (ปฏิบัติง่ายรู้ได้ช้า) อรหัตตมรรค เป็นทุกฺขาปฏิปทา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 398

ขิปฺปาภิญฺา (ปฏิบัติยากรู้ได้เร็ว). เพราะฉะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ยายํ ปฏิปทา ทุกฺขา ขิปฺปาภิญฺา อิมํ เม ปฏิปทํ อาคมฺม อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ (จิตของผมหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ดังนี้.

จบอรรถกถามหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗