พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สารีปุตตสูตร ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38961
อ่าน  367

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 398

จตุตถปัณณาสก์

ปฏิปทาวรรคที่ ๒

๘. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 398

๘. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร

[๑๖๘] ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ไปหาพระสารีบุตร ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ถามพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตรู ปฏิปทา ๔ นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฏิปทาอย่างไหนในปฎิปทา ๔ นี้

พระสารีบุตรตอบว่า อาวุโสโมคคัลลานะ ปฎิปทา ๔ นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา.

จบสารีบุตตสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 399

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระธรรมเสนาบดีเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา (ปฏิบัติง่าย รู้ช้า) อรหัตตมรรคเป็น สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา (ปฏิบัติง่าย รู้เร็ว) เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระ จึงกล่าวว่า ยายํ ปฏิปทา สุขา ขิปฺปาภิญฺา ดังนี้ เป็นอาทิ. ก็ในสองสูตรเหล่านี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวปฏิปทาคละกัน.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๘