พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. วิภัตติสูตร ว่าด้วยพระสารีบุตรปฏิญญาว่าได้ปฏิสัมภิทา ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38965
อ่าน  396

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 412

จตุตถปัณณาสก์

สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

๒. วิภัตติสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรปฏิญญาว่าได้ปฏิสัมภิทา ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 412

๒. วิภัตติสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรปฏิญญาว่าได้ปฏิสัมภิทา ๔

[๑๗๒] พระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ฯลฯ กล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าอุปสมบทได้กึ่งเดือนก็ได้ทำให้แจ้งอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยเป็นส่วน โดยพยัญชนะ ข้าพเจ้าบอก แสดง แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ตื้น ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นได้โดยอเนกปริยาย ผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง เชิญถามข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักกล่าแก้ พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมทั้งหลาย ก็ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลาย.

จบวิภัตติสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 413

อรรถกถาวิภัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิภัตติสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถทั้งหลาย ๕. บทว่า โอธิโส คือโดยเหตุ. บทว่า พฺยญฺชนโส คือ โดยอักษร. บทว่า อเนกปริยาเยน คือ โดยเหตุหลายอย่าง. บทว่า อาจิกฺขามิ แปลว่า บอก บทว่า เทเสมิ คือ บอกกล่าวทำให้ปรากฏ. บทว่า ปญฺาเปมิ คือ ให้เขารู้. บทว่า ปฏฺเปมิ คือ กล่าวยกขึ้นให้เป็นไปแล้ว บทว่า วิวรามิ คือ บอกแบบเปิดเผย. บทว่า วิภชามิ คือ บอกแบบจำแนก. บทว่า อุตฺตานีกโรมิ คือ บอกทำข้อที่ลึกซึ้งให้ตื้น. บทว่า โส มํ ปญฺเหน ได้แก่ ผู้นั้นจงเข้าไปถามปัญหาเรา. บทว่า อหํ เวยฺยากรเณน ความว่า ข้าพเจ้าจักยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหา. บทว่า โย โน ธมฺมานํ สุกุสโล ความว่า พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมที่เราบรรลุแล้ว พระองค์ประทับอยู่ต่อหน้าเรา ตรัสว่า ผิว่า อัตถปฏิสัมภิทา เรายังไม่ทำให้แจ้ง ดูก่อนสารีบุตร เธอจงทำให้แจ้งก่อนแล้ว จักทรงห้ามเสีย. เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรชื่อว่านั่งต่อพระพักตรพระศาสดา บันลือสีหนาท. พึงทราบความ ในบททั้งหมดด้วยอุบายนี้. ก็และในปฏิสัมภิทาเหล่านี้ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็น โลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิภัตติสูตรที่ ๒