พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. โกฏฐิตสูตร ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ดับไม่เหลือ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38966
อ่าน  351

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 414

จตุตถปัณณาสก์

สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

๓. โกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ดับไม่เหลือ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 414

๓. โกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ดับไม่เหลือ

[๑๗๓] ครั้งนั้นพระมหาโกฏฐิตะไปหาพระสารีบุตร ฯลฯ ถาม พระสารีบุตรว่า อาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไรๆ อื่น ยังมีหรือ.

พระสารีบุตรตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น อาวุโส.

มหา. เพราะผัสสาตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไรๆ อื่นไม่มีหรือ.

สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.

มหา. เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไรๆ อื่นยังมีบ้าง ไม่มีบ้างหรือ.

สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.

มหา. เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไรๆ อื่นยังมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ.

สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.

มหา. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไรอื่นยังมีหรือ ท่านก็ตอบว่าไม่ใช่อย่างนั้น ... ไม่มีหรือ ก็ว่าไม่ใช่ ... มีบ้างไม่มีบ้างหรือ ก็ว่าไม่ใช่ ... มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่หรือ ก็ว่าไม่ใช่ ก็ความแห่งคำที่กล่าวนี้จะพึงเข้าใจได้อย่างไร.

สา. ดูก่อนอาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือ แล้ว อะไรอื่นยังมีอีก ดังนี้ ชื่อว่าทำเรื่องไม่เป็นไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไรๆ อื่นไม่มี ... มีบ้างไม่มีบ้าง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 415

... มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ ดังนี้ๆ ก็ชื่อว่าทำเรื่องที่ไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า นี่แน่ะ อาวุโส ผัสสายตนะ ๖ ยังเป็นไปอยู่เพียงใด ปปัญจธรรม (ธรรมอันทำให้ เนิ่นช้า) ก็ยังเป็นไปอยู่เพียงนั้น ปปัญจธรรมยังเป็นไปอยู่เพียงใด ผัสสายตนะ ๖ ก็ยังเป็นไปอยู่อย่างนั้น ผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว ปปัญจธรรมก็ดับรำงับไป.

จบโกฏฐิตสูตรที่ ๓

อรรถกถาโกฏฐิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโกฏฐิตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ผสฺสายตนานํ ได้แก่ บ่อเกิดแห่งผัสสะ. อธิบายว่า ที่ที่เกิดแห่งผัสสะ. บทว่า อตฺถญฺํ กิญฺจิ ความว่า ท่านมหาโกฏฐิตะถามว่า เมื่อผัสสายตนะเหล่านั้นดับ โดยไม่เหลือ กิเลสไรๆ นอกจากนั้นแม้จำนวนน้อยยังมีอยู่หรือ. แม้ในบทว่า นตฺถญฺํ กิญฺจิ ท่านมหาโกฏฐิตะก็ถามว่า กิเลสแม้จำนวนน้อยก็ไม่มีหรือ. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ท่านมหาโกฎฐิตะถามปัญหาแม้ ๔ ข้อเหล่านี้ด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ เอกัจจสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง) และอมราวิกเขปทิฏฐิ (ความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว). ด้วยเหตุนั้น พระเถระ (พระสารีบุตร) เมื่อจะคัดค้านปัญหาที่ท่านมหาโกฏฐิตะถามแล้วถามอีก จึงกล่าวว่า มาเหวํ ดังนี้. คำว่า หิ ในคำนี้ (มาเหวํ) เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้. ท่านมหาโกฏฐิตะถามโดยอาการมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้นว่า สิ่งใดๆ อื่นด้วยอำนาจ การเข้าไปถือว่ามีอัตตามีอยู่หรือ คือชื่อว่า อิตตาไรๆ อื่นมีอยู่หรือ. ถามว่า ก็พระเถระ (พระมหาโกฏฐิตะ) นี้เป็นอัตตูปลัทธิถือลัทธิว่ามีอัตตา หรือ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 416

ตอบว่า ไม่ใช่อัตตูปลัทธิ แต่ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นมีลัทธิอย่างนี้ ภิกษุ นั้นไม่อาจถามได้. ท่านมหาโกฏฐิตะถามอย่างนี้เพื่อจะให้พระสารีบุตรแก้ลัทธิ ในที่นั้น. พระมหาโกฏฐิตะ คิดว่า พระมหาสาวกทั้งหลายแก้ปัญหานี้ แม้ในพุทธกาลแก่ผู้ที่จักมีลัทธิอย่างนี้ในอนาคตกาล จึงถามเพื่อตัดโอกาสที่จะพูดกัน.

บทว่า อปฺปมญฺจํ ปปญฺเจติ ได้แก่ ไม่ทำความเนิ่นช้าในที่อันควรทำให้เนิ่นช้า คือหน่วงทางอันไม่ควรหน่วง. บทว่า ตาวตา ปญฺจสฺสคติ ความว่า คติแห่งผัสสายตนะ ๖ ยังมีอยู่เพียงใด คติแห่งปปัญจธรรม (ธรรมอันทำให้เนิ่นช้า) อันต่างด้วย ตัณหา ทิฏฐิ มานะก็ยังมีอยู่เพียงนั้น บทว่า ฉนฺนํ อาวุโส ผสฺสายตนานํ อเสสวิราคนิโรธา ปปญฺจนิโรโธ ปปญฺจวูปสโม (ดูก่อนผู้อาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ปปัญจธรรมก็ดับ ปปัญจธรรมก็ระงับไป) ความว่า เมื่ออายตนะ ๖ เหล่านี้ ดับโดยประการทั้งปวง แม้ปปัญจธรรมก็เป็นอันดับไป เป็นอันระงับไป แต่ในอรูปภพ ผัสสายตนะ ๕ ของเทวดาผู้เป็นปุถุชนดับไปก็จริง ถึงดังนั้น เพราะผัสสายตนะที่ ๖ ยังไม่ดับ ปปัญจธรรมแม้ ๓ ก็ชื่อว่า ยังละไม่ได้. ก็และท่านกล่าวปัญหานี้ ด้วยสามารถปัญจโวหารภพ ของสัตว์ที่มี ขันธ์ ๕ เท่านั้น.

จบอรรถกถาโกฏฐิตสูตรที่ ๓