๑. โยธสูตร ว่าด้วยองค์ ๔ ของนักรบและของพระภิกษุ
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 438
จตุตถปัณณาสก์
โยธาชีววรรคที่ ๔
๑. โยธสูตร
ว่าด้วยองค์ ๔ ของนักรบและของพระภิกษุ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 438
โยธาชีววรรคที่ ๔
๑. โยธสูตร
ว่าด้วยองค์ ๔ ของนักรบและของพระภิกษุ
[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบประกอบด้วยองค์ ๔ จึงเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็นผู้ควรที่พระราชาใช้สอย ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเป็นองคาพยพของพระราชาทีเดียว องค์ ๔ เป็นไฉน? คือ นักรบในโลกนี้เป็นผู้ฉลาด ในฐานะ ๑ เป็นผู้ยิงได้ไกล ๑ เป็นผู้ยิงได้เร็ว ๑ ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็นผู้ควรที่พระราชาใช้สอย ย่อมถึงการนับว่าเป็นองคาพยพของพระราชาทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็น ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น ยิ่งกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาด ในฐานะ ๑ เป็นผู้ยิงได้ไกล ๑ เป็นผู้ยิงได้เร็ว ๑ ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ไกลอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันเป็นภายในหรือภายนอก หยาบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 439
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกลและใกล้ รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น จริงอย่างนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขาร เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกลและใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ไกล อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็วอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็ว อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำลายกองอวิชชาใหญ่เสียได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
จบโยธสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 440
โยธาชีววรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถาโยธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโยธสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า านกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในฐานะที่ตนยืนอยู่สามารถยิงไม่ผิด. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล
จบอรรถกถาโยธสูตรที่ ๑