พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สัจฉิกิริยสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรทําให้แจ้ง ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38982
อ่าน  343

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 464

จตุตถปัณณาสก์

โยธาชีววรรคที่ ๔

๙. สัจฉิกิริยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรทําให้แจ้ง ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 464

๙. สัจฉิกิริยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการ

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วย กายก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยกายเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ควรกระทำให้แจ้งด้วยกาย. ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติเป็นไฉน? ปุพเพนิวาสควรกระทำให้แจ้งด้วยสติ. ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุเป็นไฉน การจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุ. ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาเป็นไฉน? ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้แล.

จบสัจฉิกิริยสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 465

อรรถกถาสัจฉิกิริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัจฉิกิริยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเยน ได้แก่ ด้วยนามกาย. บทว่า สจฺฉิกรณียา ได้แก่ พึงทำให้ประจักษ์. บทว่า สติยา ได้แก่ ด้วยปุพเพนิวาสานุสติ. บทว่า จกฺขุนา คือด้วยทิพจักษุ. บทว่า ปญฺาย ความว่า วิปัสสนาปัญญา พึงทำให้แจ้งด้วยฌานปัญญา มรรคปัญญา พึงทำให้แจ้งด้วยวิปัสสนาปัญญา ผลปัญญา พึงทำให้แจ้งด้วยมรรคปัญญา ปัจจเวกขณปัญญา พึงทำให้แจ้งด้วยผลปัญญา. อธิบายว่า พึงบรรลุ. ส่วนพระอรหัตกล่าวคือความสิ้นอาสวะ ชื่อว่า พึงทำให้แจ้งด้วยปัจจเวกขณปัญญา.

จบอรรถกถาสัจฉิกิริยสูตรที่ ๙