พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38987
อ่าน  397

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 475

จตุตถปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๕

๒. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 475

๒. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ พึงรู้ด้วยฐานะ ๔ ฐานะ ๔ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้น พึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการอยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการอยู่หารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ความสะอาดพึงรู้ได้ ด้วยถ้อยคำ และความสะอาดนั้นพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการอยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย และกำลังใจนั้นแล พึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดย กาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร? บุคคลในโลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มักทำศีลให้ขาด มักทำให้ทะลุ มักทำให้ด่าง มักทำให้พร้อย ตลอดกาลนานแล ไม่กระทำติดต่อไป ไม่ประพฤติติดต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นคนทุศีล หาใช่เป็นคนมีศีลไม่ อนึ่ง บุคคลในโลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มีปกติไม่ทำศีลให้ขาด ไม่ทำให้ทะลุ ไม่ทำให้ด่าง ไม่ทำให้พร้อย ตลอดกาลนาน มีปกติทำติดต่อไป ประพฤติติดต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 476

เป็นผู้มีศีล หาใช่เป็นผู้ทุศีลไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน... คนปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ อาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร? บุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสองต่อสองเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสามคนเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันมากคนเป็นอย่างหนึ่ง ท่านผู้นี้พูดคำหลังผิดแผกไปจากคำก่อน ท่านผู้นี้มีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำบริสุทธิ์ไม่ อนึ่ง บุคคลในโลกนี้ เมื่อสนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างไร พูดกันสองคน สามคน มากคน ก็อย่างนั้น ท่านผู้นี้พูดคำหลังไม่ผิดแผกจากคำก่อ มีถ้อยคำบริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร? บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 477

ความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุนอกคร่ำครวญถึงความหลงใหล ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุนเวียนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความ หลงใหล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร บุคคลบางคนในโลกนี้ สนทนากับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร และการถามปัญหาของท่านผู้นี้เพียงไร ท่านผู้นี้ปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้ไม่อ้างบทความอันลึกซึ้ง อันสงบ ประณีต ที่สามัญชนคาดไม่ถึง ละเอียดอันบัณฑิตพึงรู้ได้ อนึ่ง ท่านผู้นี้กล่าวธรรมอันใด ท่านผู้นี้ไม่สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นได้ โดยย่อหรือโดยพิสดาร ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ พึงเห็นปลาเล็กๆ ผุดอยู่ เขาพึงทราบได้ว่า กิริยาผุดของปลาตัวนี้เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 478

เพียงไหน และมีความเร็วเพียงไร ปลาตัวนี้เล็ก ไม่ใช่ปลาตัวใหญ่ ดังนี้ ฉันใด บุคคลเมื่อสนทนากับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา ดังนี้ ส่วนบุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร การถามปัญหาของท่านผู้นี้เพียงไร ท่านผู้นี้มีปัญญา ท่านผู้นี้ไม่ใช่ทรามปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะท่านผู้นี้ย่อมอ้างบทความลึกซึ้ง สงบ ประณีต สามัญชนคาดไม่ถึง ละเอียด อันบัณฑิตพึงรู้ได้ และท่านผู้นี้ย่อมกล่าวธรรมใด ท่านผู้นี้เป็นผู้สามารถเพื่อจะบอก เพื่อแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้น ทั้งโดยย่อหรือพิสดารได้ ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญา ท่านผู้นี้หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ พึงเห็นปลาตัวใหญ่กำลังผุด เขาพึงรู้อย่างนี้ว่า กิริยาผุดของปลาตัวนี้เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่นได้เพียงไหน มีความเร็วเพียงไร ปลาตัวนี้ใหญ่ หาใช่ปลาตัวเล็กไม่ ดังนี้ ฉันใด บุคคลสนทนาอยู่กับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ่งของท่านผู้นี้เพียงไร ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญา หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วย ฐานะ ๔ นี้.

จบฐานสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 479

อรรถกถาฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า านานิ คือเหตุทั้งหลาย. บทว่า าเนหิ คือด้วยเหตุทั้งหลาย. ความสะอาดชื่อ โสเจยฺยํ. บทว่า สํวสมาโน แปลว่า เมื่ออยู่ร่วมกัน. บทว่า น สตตการี น สตตวุตฺตี สีเลสุ ความว่า ท่านผู้นี้ จะมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยศีลอยู่เนืองนิตย์ทุกเวลา ก็หามิได้. บทว่า สํโวหรมาโน คือเมื่อพูด. บทว่า เอเกน เอโก โวหรติ ความว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัว. บทว่า โวกฺกมติ คือพูด. บทว่า ปุริมโวหารา ปจฺฉิมโวหารํ คือ ท่านผู้นี้พูดคำหลับผิดแผกไปจากคำก่อน. อธิบายว่า คำหลังกับคำก่อน และ คำก่อนกับคำหลังไม่สมกัน. ในบทเป็นต้นว่า าติพฺยสเนน คือเสื่อมญาติ อธิบายว่า เสียญาติ. แม้ในบทที่สอง ก็นัยนี้แล. ส่วนในการเกิดโรค โรคนั้นแล ชื่อว่าเสีย เพราะทำความไม่มีโรคให้เสียไป.

บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือติดตาม. ในบทว่า ลาโภ จ เป็นอาทิ พึงนำนัยไปอย่างนี้ว่า ลาภย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่ง ความเสื่อมลาภย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่ง. บทว่า สากจฺฉายมาโน ความว่า เมื่อทำการสนทนาด้วยอำนาจการถามและการตอบปัญหา. บทว่า ยถา แปลว่า โดยอาการใด. อุมมงค์แห่งปัญญา ชื่อ อุมมังคะ. อภินิหารแห่งจิตด้วยอำนาจการแต่งปัญหา ชื่อ อภินิหาร. การถามปัญหา ชื่อ สมุทาหาร. บทว่า สนฺตํ ความว่า ไม่กล่าวให้สงบ เพราะข้าศึกสงบ. บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ถึงความล้ำเลิศ. บทว่า อตกฺกาวจรํ ความว่า ท่านผู้นี้ไม่กล่าวโดยประการ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 480

ที่อาจถือเอาได้ด้วยการเดา ด้วยการคาดคะเน. บทว่า นิปุณํ แปลว่า ละเอียด. บทว่า ปณฺฑิตเวทนียํ แปลว่า อันพวกบัณฑิตพึงรู้ได้. บทที่เหลือในที่ทุกแห่ง พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๒