๗. มัลลิกสูตร ตรัสเหตุที่ทําให้มาตุคามมีรูปงาม - ทราม
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 506
จตุตถปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๕
๗. มัลลิกสูตร
ตรัสเหตุที่ทําให้มาตุคามมีรูปงาม - ทราม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 506
๗. มัลลิกสูตร
ตรัสเหตุที่ทำให้มาตุคามมีรูปงาม - ทราม
[๑๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ยากจนขัดสนทรัพย์สมบัติและต่ำศักดิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณอันงามยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์สมบัติ และต่ำศักดิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มี รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 507
แก่สมณะหรือพราหมณ์ และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น เกียดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ทั้งเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ สมบัติและต่ำศักดิ์.
ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏ แต่เขาเป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ และไม่เป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และบูชาของผู้อื่น ไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.
ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ แต่เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น เกียดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 508
ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก แต่เป็นคนเข็ญใจ ยากจน ขัดสนและต่ำศักดิ์.
ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ แล้วถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก และสูงศักดิ์.
ดูก่อนพระนางมัลลิกา นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ทั้งเป็นคนเข็ญใจ ยากจนขัดสน และต่ำศักดิ์ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก แต่เป็นคนเข็ญใจ ยากจน ขัดสนและต่ำศักดิ์ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มี รูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระนางมัลลิกาเทวีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติอื่นชรอย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 509
หม่อมฉันจะเป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธ ความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ ในบัดนี้ หม่อมฉันจึงมีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่ในชาติอื่น หม่อมฉันคงได้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป โคมไฟ บัดนี้ หม่อมฉันจึงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ในชาติอื่น หม่อมฉันคงจะไม่มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น ไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ในบัดนี้ หม่อมฉันจึงมีศักดิ์สูง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นางกษัตริย์บ้าง นางพราหมณีบ้าง นางคฤหบดีบ้าง มีอยู่ในราชสกุลนี้ หม่อมฉันได้ดำรงความเป็นใหญ่ยิ่งกว่าหญิงเหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้ไป หม่อมฉันจักไม่โกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้นใจ ถึงถูกว่ากล่าวมากก็จักไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ จักให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณพราหมณ์ จักไม่มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และบูชาของผู้อื่น จักไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสิกา ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบมัลลิกสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 510
อรรถกถามัลลิกสูตร
n พึงทราบวินิจฉัยในมัลลิกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า มลฺลิกา เทวี ได้แก่ พระเทวีของพระเจ้าปเสนทิโกศล. บทว่า เยน มิเธกจฺโจ มาตุคาโม ได้แก่ หญิงบางคนในโลกนี้. บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวน่าเกลียด. บทว่า ทุรูโป ได้แก่มีทรวดทรงไม่ดี. บทว่า สุปาปิโก ได้แก่ แสนชั่ว แสนทราม. บทว่า ทสฺสนาย แปลว่า เพื่อเห็น. บทว่า ทลิทฺโท ได้แก่ จนทรัพย์. บทว่า อปฺปสฺสโก ได้แก่ เว้นจากทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นของตนเอง บทว่า อปฺปโภโค ได้แก่ เว้นจากเครื่องใช้สอย. บทว่า อปฺเปสกฺโข ได้แก่ มีบริวารน้อย. บทว่า อุทฺโธ ได้แก่ เป็นอิสระ. บทว่า มหทฺธโน ได้แก่ มีทรัพย์มาก โดย ทรัพย์สำหรับใช้สอย. บทว่า มหาโภโค คือ มีโภคะมาก ด้วยโภคะเครื่อง อุปโภคบริโภค (ของใช้ ของกิน). บทว่า มเหสกฺโข คือ มีบริวารมาก. บทว่า อภิรูโป คือ มีรูปงาม. บทว่า ทสฺสนีโย คือ ควรดู. บทว่า ปาสาทิโก คือ มีใจเลื่อมใสด้วยการชม. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย คือ ด้วยผิวพรรณ และทรวดทรงแห่งเรือนร่าง. บทว่า อภิสชฺชติ แปลว่า ขัดข้อง. บทว่า พฺยาปชฺชติ ได้แก่ ละปกติ. บทว่า ปฏิตฺถียติ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้หดหู่และกระด้าง ด้วย ความโกรธ. บทว่า น ทาตา โหติ คือ เป็นหญิงไม่ให้. ในบทว่า เสยฺยา- วสถปทีเปยฺยํ นี้ ที่นอน คือ เตียงและแผ่นกระดานเป็นต้น ชื่อว่าที่นอน. เรือน ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ที่อยู่. เครื่องประกอบประทีปมีไส้และน้ำมันเป็นต้น ท่านเรียกว่า ปทีเปยฺยํ. บทว่า อิสฺสามนิโก ได้แก่ มีจิตประกอบด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 511
ริษยา. พึงทราบความในบททั้งหมดโดยนัยนี้. บทว่า โกธนา อโหสึ คือ เป็นหญิงมักโกรธ. บทว่า อนิสฺสามนิกา อโหสึ คือ ได้เป็นหญิงมีจิต เว้นจากความริษยา. คำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามัลลิกสูตรที่ ๗