พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. เปมสูตร ว่าด้วยธรรมชาติ ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38995
อ่าน  492

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 544

จตุตถปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๕

๑๐. เปมสูตร

ว่าด้วยธรรมชาติ ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 544

๑๐. เปมสูตร

ว่าด้วยธรรมชาติ ๔ ประการ

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้ย่อมเกิด ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก ๑ โทสะย่อมเกิด เพราะความรัก ๑ ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑ โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคลในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักในคน เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคลในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลนั้นด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเราด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลในโลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 545

บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักใคร่ในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลในโลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ มาประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมเกิดโทสะในบุคคลเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่บังเกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วยทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้โทสะที่เกิด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 546

เพราะความรัก... แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ... แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตนหรือเห็นตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีสัญญา เห็นสัญญาในตน หรือเห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีสังขาร เห็นสังขารในตน หรือเห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ภิกษุ ชื่อว่า ยึดถือ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย นี้ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป ไม่เห็นเวทนา... ไม่เห็นสัญญา... ไม่เห็นสังขาร... ไม่เห็วิญญาณโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ ภิกษุ ชื่อว่า ไม่ยึดถือ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมโต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมด่าตอบผู้ด่าตน ย่อมโกรธตอบผู้โกรธตน ย่อมโต้เถียงตอบผู้โต้เถียงตน ภิกษุ ชื้อว่า ย่อมโต้ตอบ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่โต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไม่ด่าตอบผู้ด่าคน ย่อมไม่โกรธตอบผู้โกรธตน ย่อมไม่โต้เถียงตอบ ผู้โต้เถียงตน ภิกษุ ชื่อว่า ไม่โต้ตอบ อย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 547

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมบังหวนควันอย่างไร เมื่อมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างอื่น เราเป็นอยู่ เราไม่เป็นอยู่ เราพึงเป็น เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นอย่างอื่น แม้ไฉน เราพึงเป็น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น แม้ไฉน เราพึงเป็นอย่างอื่น เราจักเป็น เราจัก เป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น เราจักเป็นอย่างอื่น ภิกษุ ชื่อว่า ย่อมบังหวนควัน อย่างนั้นแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บังหวนควันอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อไม่มีความถือว่า เรามีอยู่ ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้... เราจักเป็นอย่างอื่น ภิกษุ ชื่อว่า ย่อมไม่บังหวนควัน อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุลุกโพลงอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วย ขันธบัญจกนี้ เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุ ชื่อว่า ลุกโพลง อย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ลุกโพลงอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้... เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุ ชื่อว่า ไม่ลุกโพลงอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังละอิสมิมานะ ตัดรากขาด ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดาไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า ถูกไฟไหม้อย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 548

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า ไม่ถูกไฟไหม้อย่างนี้แล.

จบเปมสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรคที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์

อรรถกถาเปมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเปมสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อุสฺเสเนติ ได้แก่ ไม่ยกขึ้นด้วยอำนาจทิฏฐิ. บทว่า ปฏิสฺเสเนติ ได้แก่ มีผู้โกรธก็ไม่ถือเป็นเหตุทะเลาะบาดหมาง. บทว่า น ธูปายติ ได้แก่ ไม่บังหวนควัน (ไม่ครุ่นคิด) ด้วยอำนาจตัณหาวิจริตอาศัยขันธบัญจกภายใน. บทว่า น ปชฺชลติ ได้แก่ ไม่ลุกเป็นเปลวด้วยอำนาจตัณหาวิจริตอาศัยขันธบัญจกภายนอก. บทว่า น ปชฺฌายติ ได้แก่ ไม่ไหม้ ด้วยอำนาจอัสมิมานะ (การถือเราถือเขา). บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยแห่งบาลี นั่นแล วัฏฏะวิวัฏฏะตรัสไว้แล้วในสูตรนี้.

จบอรรถกถาเปมสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรควรรณนาที่ ๕

จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 549

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสตานุคตสูตร ๒. ฐานสูตร ๓. ภัททิยสูตร ๔. สามุคิยสูตร ๕. วัปปสูตร ๖. สาตถสูตร ๗. มัลลิกสูตร ๘. อัตตันตปสูตร ๙. ตัณหาสูตร ๑๐. เปมสูตร และอรรถกถา.