พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทสกัมมสูตร ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  38999
อ่าน  415

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 555

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

สัปปุริสวรรคที่ ๑

๔. ทสกัมมสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 555

๔. ทสกัมมสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ กับสัตบุรุษ และสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ ท่านทั้งหลายจงฟังทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำปาณาติบาต ทำอทินนาทาน ทำกาเมสุมิจฉาจาร พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 556

พูดเพ้อเจ้อ มีอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด นี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้ทำปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นผิดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

สัตบุรุษ เป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีอภิชฌา ไม่มีจิตพยาบาท มีความเห็นชอบ นี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

จบทสกัมมสูตรที่ ๔