พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อักฐังคิกสูตร ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39000
อ่าน  383

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 556

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

สัปปุริสวรรคที่ ๑

๕. อักฐังคิกสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 556

๕. อักฐังคิกสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ กับสัตบุรุษและสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ ท่านทั้งหลายจงฟังทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด ตั้งสติผิด ทำสมาธิผิด นี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 557

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ทำสมาธิผิด ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ทำสมาธิชอบ นี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ทำสมาธิชอบ ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

จบอัฏฐังคิกสูตรที่ ๕