พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อกตัญญตาสูตร ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39008
อ่าน  358

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 566

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

โสภนวรรคที่ ๒

๓. อกตัญญตาสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 566

๓. อกตัญญตาสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ความเป็นคนกตัญญูกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์.

จบอกตัญญุตาสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 567

อรรถกถาอกตัญญูตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอกตัญญุตาสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกตญฺญุตา อกตเวทิตา ได้แก่ ด้วยความไม่รู้คุณท่าน ด้วยความไม่ตอบแทนคุณท่าน. แม้ทั้งสองบทนั้น โดยเนื้อความก็อย่างเดียวกัน นั้นเอง. แม้ในสุกปักษ์ (ธรรมฝ่ายดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาอกตัญญุตาที่ ๓