พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทิฏฐิสูตร ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39017
อ่าน  358

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 573

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

ทุจริตวรรคที่ ๓

๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 573

๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัดถูกทำลาย เป็นคน มีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นคนมีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 574

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น ผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ วิญญูชน ไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๒