พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สังขิตตสูตร ว่าด้วยกรรม ๔ ประเภท

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39027
อ่าน  439

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 582

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

กรรมวรรคที่ ๔

๑. สังขิตตสูตร

ว่าด้วยกรรม ๔ ประเภท


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 582

กรรมวรรคที่ ๔

๑. สังขิตตสูตร

ว่าด้วยกรรม ๔ ประเภท

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประเภทนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประเภทเป็นไฉน คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อสิ้นกรรมก็มี นี้แล กรรม ๔ ประเภท เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ.

จบสังขิตตสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 583

กรรมวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสังขิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังขิตตสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ตั้งต่อไปนี้ :-

บทว่า กณฺหํ ได้แก่ กรรมดำ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า กณฺหวิปากํ ได้แก่ มีวิบากดำ เพราะให้เกิดในอบาย. บทว่า สุกฺกํ ได้แก่ กรรมขาว คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากขาว เพราะให้เกิดในสวรรค์. บทว่า กณฺหํ สุกฺกํ ได้แก่ กรรมคละกัน. บทว่า กณฺหสุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากทั้งสุขและทุกข์. จริงอยู่ บุคคลทำกรรมคละกันแล้ว เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานด้วยอกุศลในฐานะเป็นมงคลหัตถีเป็นต้น เสวยสุขในปัจจุบันด้วยกุศล. บุคคลเกิดแม้ในราชตระกูลด้วยกุศล ย้อมเสวยทุกข์ในปัจจุบันด้วยอกุศล. บทว่า อกณฺหํ อสุกฺกํ ท่านประสงค์เอามรรคญาณ ๔ อันทำกรรมให้สิ้นไป. จริงอยู่ กรรมนั้นผิว่าเป็นกรรมดำ ก็พึงให้วิบากดำ ผิว่าเป็นกรรมขาว พึงให้วิบากขาว แต่ที่ไม่ดำ ไม่ขาว เพราะไม่ให้วิบากทั้งสอง ดังกล่าวมานี้เป็นใจความในข้อนี้.

จบอรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๑