พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. วิตถารสูตร ว่าด้วยกรรม ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39031
อ่าน  359

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 584

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

กรรมวรรคที่ ๔

๒. วิตถารสูตร

ว่าด้วยกรรม ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 584

๒. วิตถารสูตร

ว่าด้วยกรรม ๔ ประการ

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบาก ทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันมีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันมีความเบียดเบียนย่อมถูกต้อง บุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียน ถูกต้องนั้น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร... วจีสังขาร... มโนสังขารอันไม่มีความ เบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 585

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร... วจีสังขาร... มโนสังขาร อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลก ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะอันมีความเบียดเบียน บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน เปรียบเหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำ ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ต่ำไม่ขาวย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำในบรรดา กรรมเหล่านั้นก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็ดี นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบวิตถารสูตรที่ ๒

อรรถกถาวิตถารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิตถารสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สพฺยาปชฺฌํ คือ มีโทษ. บทว่า กายสงฺขารํ ได้แก่ เจตนาในกายทวาร. บทว่า อภิสงฺขโรติ ได้แก่พอกพูน คือประมวลมา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 586

แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สพฺยาปชฺฌํ โลกํ ได้แก่ โลกมีทุกข์. บทว่า สพฺยาปชฺฌา ผสฺสา ได้แก่ ผัสสะเป็นวิบากมีทุกข์. บทว่า สพฺยาปชฺฌํ เวทนํ เวทิยติ ได้แก่ เสวยเวทนามีวิบาก เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน. บทว่า เอกนฺตทุกฺขํ ได้แก่ เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเท่านั้น คือไม่เจือด้วยสุข.

บทว่า เสยฺยถาปิ ในบทนี้ว่า เสยฺยถาปิ สตฺตา เนรยิกา พึงเห็นว่าเป็นนิบาตลงในอรรถว่าตัวอย่าง. ด้วยบทนั้นทรงแสดงถึงสัตว์นรกอย่างเดียว ก็สัตว์อื่นชื่อว่าจะเห็นคล้ายกับสัตว์นรกนั้นไม่มี. พึงทราบความในบททั้งปวงโดยวิธีอุบายนี้.

ก็ในบทมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ มนุสฺสา จะว่าถึงมนุษย์ก่อน สุขเวทนาย่อมเกิดตามเวลา ทุกขเวทนาก็เกิดตามเวลา. ส่วนในบทนี้ว่า เอกจฺเจ จ เทวา พึงเห็นว่าเทวดาชั้นกามาวจร จริงอยู่ เทวดาเห็นเทวดาผู้มีศักดิ์ยิ่งกว่ากามาวจรเทพเหล่านั้น ย่อมถึงทุกข์ตามเวลาด้วยกิจ มีอาทิว่า ต้องลุกจากที่นั่ง ต้องลดผ้าห่มทำผ้าเฉวียงบ่า ต้องประคองอัญชลี. เมื่อเสวยทิพยสมบัติ ย่อมถึงสุขตามเวลา. ในบทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา พึงเห็นว่าเวมานิกเปรต บางจำพวก. เวมานิกเปรตเหล่านั้น เสวยสุขในเวลาหนึ่ง ทุกข์ในเวลาหนึ่ง ชั่วนิรันดร ก็สัตว์ทั้งหลายมี นาค ครุฑ ช้าง และม้าเป็นต้น ย่อมมีทั้งสุข และทุกข์ เกลื่อนกล่นเหมือนมนุษย์. ในบทว่า ปหานาย ยา เจตนา นี้ พึงทราบมรรคเจตนาอันให้ถึงวัฏฏะและวิวัฏฏะ. จริงอยู่ มรรคเจตนานั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

จบอรรถกถาวิตถารสูตรที่ ๒