พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สิกขาบทสูตร ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39033
อ่าน  398

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 589

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

กรรมวรรคที่ ๔

๔. สิกขาบทสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 589

๔. สิกขาบทสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 590

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งคำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำ ทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนาใดเพื่อละกรรมดำ อันมีวิบากดำในบรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบสิกขาปทสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 591

สิกขาปทสูตรที่ ๔ เป็นต้นมีความง่ายทั้งนั้น. ก็ในองค์มรรคทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า เพราะพระโยคาวจรเข้าไปตั้งสติไว้แล้วกำหนดด้วยปัญญา ฉะนั้น ทั้งสองนั่นแหละเป็นกรรม ที่เหลือเป็นองค์เท่านั้นไม่ใช่กรรม. แม้ในโพชฌงค์ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในอภิธรรมท่านพรรณนากรรมทั้งหมดนั้นว่า เป็นกรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนา โดยไม่แปลกกัน.