๑. สังฆเภทกสูตร ภิกษุทําลายสงฆ์ด้วยอํานาจประโยชน์ ๔ ประการ
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 600
วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์
อาปัตติภยวรรคที่ ๕
๑. สังฆเภทกสูตร
ภิกษุทําลายสงฆ์ด้วยอํานาจประโยชน์ ๔ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 600
อาปัตติภยวรรคที่ ๕
๑. สังฆเภทกสูตร
ภิกษุทำลายสงฆ์ด้วยอำนาจประโยชน์ ๔ ประการ
[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ อธิกรณ์นั้นระงับแล้วหรือ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อธิกรณ์นั้นจักระงับแต่ที่ไหน สัทธิวิหาริกของท่านพระอนุรุทธะชื่อว่าพาหิยะ ตั้งอยู่ในการทำลายสงฆ์ถ่ายเดียว เมื่อพระพาหิยะตั้งอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุรุทธะก็ไม่สำคัญที่จะพึงว่ากล่าวแม้สักคำเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อไร อนุรุทธะจะจัดการชำระอธิกรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ อธิกรณ์ชนิดใดก็ตามที่บังเกิดขึ้น เธอทั้งหลายกับสารีบุตรและโมคคัลลานะต้องระงับอธิภรณ์ทั้งหมดนั้นมิใช่หรือ ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์ อำนาจประโยชน์ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน ชุ่มด้วยกิเลส รุงรังด้วยโทษ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้จักเราว่า เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม... รุงรังด้วยโทษ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุผู้เป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ ๑ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 601
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุผู้เป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจ ประโยชน์ข้อที่ ๒ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีอาชีพผิด เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เธอย่อมปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีอาชีพผิดเลี้ยงชีวิตด้วย มิจฉาชีพ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุเป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๓ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก ปรารถนาลาภ สักการะและความยกย่อง เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่าปรารถนาลาภ สักการะและ ความยกย่อง จักพร้อมเพรียงกัน ไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเรา แต่ภิกษุผู้เป็นพรรคพวกจักสักการะเคารพนับถือบูชาเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๔ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้แล ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.
จบสังฆเภทกสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 602
อาปัตติภยวรรควรรณนาที่ ๕
อรรถกถาสังฆเภทกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังฆเภทกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปิ นุตํ อานนฺท อธิกรณํ ความว่า บรรดาอธิกรณ์ ๔ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น อธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุสงฆ์. พระศาสดาเมื่อจะถามถึงเรื่องอธิกรณ์นั้นสงบแล้วจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า กุโต ตํ ภนฺเต ความว่า พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อธิกรณ์นั้นจะระงับแต่ที่ไหนได้ คือ อธิกรณ์นั้นจักระงับได้ด้วยเหตุไร. บทว่า เกวลกปฺปํ ได้แก่ ถ่ายเดียว. บุทว่า สงฺฆเภทาย ิโต ได้แก่ พระพาหิยะยังยืนกรานกล่าวโต้วาทะกับด้วยสงฆ์. บทว่า ตตฺถายสฺมา ความว่า เมื่อพระพาหิยะนั้นยืนกรานอยู่อย่างนี้ ท่านพระอนุรุทธะ. บทว่า น เอกวาจิกปิ กถิตพฺพํ มญฺติ ความว่า ท่านพระอนุรุทธะไม่เอาธุระที่จะกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านอย่าพูดอย่างนี้กับสงฆ์ซิ ดังนี้. บทว่า โวยุญฺชติ ได้แก่ ขวนขวาย คือ ตั้งหน้าพยายาม. บทว่า อตฺถวเส แปลว่า อำนาจแห่งเหตุ. บทว่า นาเสสฺสนฺติ ได้แก่ ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ให้เราเข้าไป จักคร่าเรา ออกไปเสียจากอุโบสถและปวารณา. บทที่เหลือพึงทราบตามบาลีนั่นแล.
จบอรรถกถาสังฆเภทกสูตรที่ ๑