พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อภิญญาสูตร ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39052
อ่าน  510

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 617

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

อภิญญาวรรคที่ ๖

๑. อภิญญาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 617

อภิญญาวรรคที่ ๖

๑. อภิญญาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา ๔

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้งก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียเป็นไฉน คือ อวิชชา และภวตัณหา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา แล้ว พึงให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้ง เป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกระทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล.

จบอภิญญาสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 618

อภิญญาวรรควรรณนาที่ ๖

อรรถกถาอภิญญาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอภิญญาสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิญฺา ได้แก่ รู้ยิ่งด้วยปัญญา. บทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่ง และวิปัสสนาญาณ กำหนดรู้สังขาร. บทว่า วิชฺชา จ วิมุตฺติ จ ได้แก่ วิชชาอันเป็น มรรคญาณ และสัมปยุตธรรมที่เหลือ.

จบอรรถกถาอภิญญาสูตรที่ ๑