พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปริเยสนาสูตร ว่าด้วยการแสวงหาอันไม่ประเสริฐ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39053
อ่าน  391

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 618

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

อภิญญาวรรคที่ ๖

๒. ปริเยสนาสูตร

ว่าด้วยการแสวงหาอันไม่ประเสริฐ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 618

๒. ปริเยสนาสูตร

ว่าด้วยการแสวงหาอันไม่ประเสริฐ ๔

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา การแสวงหาอันไม่ ประเสริฐ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดา นั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มี ความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 619

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา การแสวงหาอย่างประเสริฐ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีชรา เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีพยาธิ เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่ตาย เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่เศร้าหมอง เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล.

จบปริเยสนาสูตรที่ ๒

อรรถกถาปริเยสนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริเยสนาสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนริยปริเยสนา ได้แก่ การแสวงหา คือ เสาะหา ของผู้ไม่ใช่อริยะ. บทว่า ชราธมฺมํ ได้แก่ สิ่งที่มีความแก่เป็นสภาพ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาปริเยสนาสูตรที่ ๒