พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. มาลุงกยปุตตสูตร ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตรเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39055
อ่าน  559

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 620

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

อภิญญาวรรคที่ ๖

๔. มาลุงกยปุตตสูตร

ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตรเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 620

๔. มาลุงกยปุตตสูตร

ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตรเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๒๕๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ ได้ฟังแล้ว พึงหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร ทีนี้เรา จักกล่าวกะพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรเล่า ในเมื่อท่านเป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ขอโอวาทของตถาคตโดยย่อ พระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 621

พระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อ แม้ไฉน ข้าพระองค์จะพึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่ง ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร เหตุเกิดตัณหา ซึ่งเป็นที่ที่ตัณหา เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนนาลุงกยบุตร ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นเพราะจีวรเป็นเหตุ ๑ เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ๑ เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ๑ เพราะความเป็นและความไม่เป็นอย่างนั้น อย่างนี้เป็นเหตุ ๑ ดูก่อนมาลุงกยบุตร เหตุเกิดตัณหาซึ่งเป็นที่ที่ตัณหา เมื่อเกิดย่อมเกิดแก่ภิกษุ ๔ ประการ นี้แล เมื่อใดแล ภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ตัดตัณหาได้เด็ดขาด รื้อสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะโดยชอบ.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดียวอยู่ ได้กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลยได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ก็แลท่านพระมาลุงกยบุตร เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

จบมาลุงกยปุตตสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 622

อรรถกถามาลุงกยปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมาลุงกยปุตตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มาลุงกฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตรของมาลุงกยพราหมณ์. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในการอ้อนวอนขอโอวาทของท่านนี้. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่มบ้าง ทรงยกย่องบ้าง ซึ่งพระเถระ. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ได้ยินว่า เมื่อหนุ่มพระนาลุงกยบุตรนี้ ติดอยู่ในปัจจัยลาภ ต่อมาแก่ตัวลงปรารถนาจะอยู่ป่า จึงอ้อนวอนขอกรรมฐาน. พึงประกอบความว่า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสโดยพระประสงค์ว่า ทีนี้เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่มๆ อย่างไรเล่า แม้พวกเธอก็เหมือนมาลุงกยบุตรในเวลาหนุ่มติดในปัจจัย แก่ตัวลงก็เข้าป่าบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้ ชื่อว่า ทรงข่มพระเถระ. ก็เพราะเหตุที่ พระเถระในเวลาแก่ตัวลงเข้าป่าประสงค์จะทำสมณธรรม ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยพระประสงค์ว่า ทีนี้เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่มๆ อย่างไรเล่า มาลุงกยบุตรของพวกเธอนี้ แม้เวลาแก่ตัวลงก็เข้าป่า ประสงค์จะบำเพ็ญสมณธรรม จึงอ้อนวอนขอกรรมฐาน พวกเธอแม้เวลาเป็นหนุ่มก็ยังไม่ทำความเพียรก่อน ดังนี้ ชื่อว่า ทรงยกย่องพระเถระ ดังนี้.

จบอรรถกถามาลุงกยปุตตสูตรที่ ๔