พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ทุติยอาชานียสูตร ว่าด้วยม้าอาชาไนยของพระราชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39058
อ่าน  383

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 626

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

อภิญญาวรรคที่ ๖

๗. ทุติยอาชานียสูตร

ว่าด้วยม้าอาชาไนยของพระราชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 626

๗. ทุติยอาชานียสูตร

ว่าด้วยม้าอาชาไนยของพระราชา

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรงถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาในโลกนี้ เป็นม้าสมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยความเร็ว ๑ สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ๑ สมบูรณ์ ด้วยทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรม เป็นผู้มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 627

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาน์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปกติได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.

จบทุติยอาชานียสูตรที่ ๗

แม้ในทุติยอาชานียสูตรที่ ๗ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือในสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้น.

จบอภิญญาวรรควรรณนาที่ ๖