พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. กัมมปถสูตร ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบริหารตน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 ต.ค. 2564
หมายเลข  39061
อ่าน  345

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 628

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

อภิญญาวรรคที่ ๖

๑๐. กัมมปถสูตร

ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบริหารตน ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 628

๑๐. กัมมปถสูตร

ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบริหารตน ๔

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันมีโทษ ๑ วจีกรรมอันมีโทษ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 629

มโนกรรมอันมีโทษ ๑ ทิฏฐิอันมีโทษ ๑ คนพาลผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมบริหารคนให้ถูกขจัด ถูกทำลายเป็นผู้ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันไม่มีโทษ ๑ วจีกรรมอันไม่มีโทษ ๑ มโนกรรมอันไม่มีโทษ ๑ ทิฏฐิอันไม่มีโทษ ๑ บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ดังนี้แล.

จบกัมมปถสูตรที่ ๑๐

จบอภิญญาวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อภิญญาสูตร ๒. ปริเยสนาสูตร ๓. สังคหสูตร ๔. มาลุงกยปุตตสูตร ๕. กุลสูตร ๖. ปฐมอาชานียสูตร ๗. ทุติยอาชานียสูตร ๘. พลสูตร ๙. อรัญญสูตร ๑๐. กัมมปถสูตร และอรรถกถา.