๑. สังขิตตสูตร ว่าด้วยกําลังของเสขบุคคล ๕ (เริ่มเล่ม 36)
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 1
ปฐมปัณณาสก์
เสขพลวรรคที่ ๑
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยกําลังของเสขบุคคล ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 1
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
เล่มที่ ๓
ปฐมปัณณาสก์
เสขพลวรรคที่ ๑
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยกำลังของเสขบุคคล ๕
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลังคือศรัทธา กำลังคือหิริ กำลังคือโอตตัปปะ กำลังคือวิริยะ กำลังคือปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 2
จักเป็นผู้ประกอบด้วย กำลังคือศรัทธา กำลังคือหิริ กำลังคือโอตตัปปะ กำลังคือวิริยะ กำลังคือปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล.
จบสังขิตตสูตรที่ ๑
มโนรถปูรณี
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
เสขพลวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาสังขิตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยใน สังขิตตสูตรที่ ๑ แห่งปัญจกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-
พละของพระเสขะ ๗ พวกเหตุนั้น จึงชื่อว่า เสขพละ. บรรดาสัทธาพละ เป็นต้น ชื่อ สัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่เชื่อ. ชื่อ หิริพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่มีความละอาย. ชื่อ โอตตัปปพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่กลัว. ชื่อ วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความเกียจคร้าน. ชื่อ ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา. บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุที่พละเหล่านี้ เป็นพละของพระเสขะทั้งหลาย ฉะนั้น.
จบอรรถกถา สังขิตตสูตรที่ ๑