พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทุกขสูตร ว่าด้วยธรรม ๕ ที่ให้เกิดทุกข์และสุข

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39067
อ่าน  393

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 6

ปฐมปัณณาสก์

เสขพลวรรคที่ ๑

๓. ทุกขสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่ให้เกิดทุกข์และสุข


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 6

๓. ทุกขสูตร *

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่ให้เกิดทุกข์และสุข

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกาย ตายไป พึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกาย ตายไป พึงหวังได้ทุคติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกาย ตายไป พึงหวังได้สุคติ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกาย ตายไป พึงหวังได้สุคติ.

จบทุกขสูตรที่ ๓


* สูตรที่ ๓ - ๔ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย