พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. กามสูตร ว่าด้วยการอนุเคราะห์คนที่ควรอนุเคราะห์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39071
อ่าน  416

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 10

ปฐมปัณณาสก์

เสขพลวรรคที่ ๑

๗. กามสูตร

ว่าด้วยการอนุเคราะห์คนที่ควรอนุเคราะห์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 10

๗. กามสูตร

ว่าด้วยการอนุเคราะห์คนที่ควรอนุเคราะห์

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย หมกมุ่นอยู่ในกาม กุลบุตรผู้ละเคียว และคานหาบหญ้า ออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่า เป็นกุลบุตรผู้มีศรัทธาออกบวช ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กาม ด้วยความเป็นหนุ่ม และกามเหล่านั้น ก็มีอยู่ตามสภาพ คือ เลว ปานกลาง และประณีต กามทั้งหมดก็ถึงการนับได้ว่า เป็นกามทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย พึงเอาชิ้นไม้ หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปในปาก เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงสนใจในเด็กนั้นทันที แล้วรีบนำเอาชิ้นไม้ หรือชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้ ก็พึงเอามือซ้ายจับ งอนิ้วมือข้างขวา แล้วแยงเข้าไปนำออกมา ทั้งที่มีโลหิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจะมีความลำบากแก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ไม่มีความลำบาก และพี่เลี้ยงผู้หวังประโยชน์ มุ่งความสุข อนุเคราะห์ พึงกระทำอย่างนั้น ด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้นเจริญวัย มีปัญญาสามารถ เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นได้ว่า บัดนี้ เด็กมีความสามารถ รักษาตนเองได้แล้ว ไม่ควรพลั้งพลาด ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ที่เราต้องรักษาเธอ ตลอดเวลา ที่เธอยังไม่กระทำ ด้วยศรัทธาในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยหิริในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยวิริยะในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยปัญญาในกุศลธรรม แต่เมื่อใดภิกษุ กระทำด้วยศรัทธาในกุศลธรรม กระทำด้วยหิริในกุศลธรรม กระทำด้วยโอตตัปปะในกุศลธรรม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 11

กระทำด้วยวิรยะในกุศลธรรม กระทำด้วยปัญญาในกุศลธรรม เมื่อนั้น เราก็ย่อมวางใจในเธอได้ว่า บัดนี้ภิกษุ มีความสามารถ รักษาตนเองได้แล้ว ไม่ควรประมาท.

จบกามสูตรที่ ๗

อรรถกถากามสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในกามสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเมสุ จลฬิตา ได้แก่ สยบยินดียิ่ง ในวัตถุกาม และกิเลสกาม. บทว่า อสิตพฺยาภงฺคึ ได้แก่ เคียวเกี่ยวหญ้า และคานหาบหญ้า. บทว่า กุลปุตฺโต ได้แก่ กุลบุตรผู้มีมารยาท. บทว่า โอหาย แปลว่า ละแล้ว. บทว่า อลํ วจนาย ได้แก่ ควรพูด. บทว่า ลพฺภา ได้แก่ ได้ง่าย คือ อาจได้. บทว่า หีนา กามา ได้แก่ กามของสัตว์มีตระกูลต่ำ ๕. บทว่า มชฺฌิมา กามา ได้แก่ กามของสัตว์ชั้นกลาง. บทว่า ปณีตา กามา ได้แก่ กามของพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา. บทว่า กามาเตฺวว สํขฺยํ คจฺฉนฺติ ความว่า ก็นับได้ว่ากามทั้งนั้น เพราะอำนาจความใคร่ และเพราะอำนาจอารมณ์ที่พึงใคร่.

บทว่า วุฑฺโฒ โหติ แปลว่า เป็นคนแก่. บทว่า อลํ อญฺโ คือ มีปัญญาสมควรแล้ว. บทว่า อตฺตคุตฺโต ได้แก่ คุ้มครองรักษา ด้วยตนเองได้ หรือสามารถคุ้มครอง รักษาตนได้. บทว่า นาลํ ปมาทาย แปลว่า ไม่ควรประมาท. บทว่า สทฺธาย อกตํ โหติ ความว่า กิจใดที่ควรทำ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยศรัทธา กิจนั้น ยังไม่ได้ทำ. แม้ในบทที่เหลือ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 12

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ด้วยบทว่า อนเปกฺโข ปนาหํ ภิกฺขเว ตสฺมึ โหติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราวางใจในบุคคลนั้น ผู้กระทำกิจที่ควรกระทำ ด้วยศรัทธา เป็นต้น อย่างนี้แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ในสูตรนี้ ตรัสโสดาปัตติมรรค.

จบอรรถกถา กามสูตรที่ ๗