ทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้
คำว่าทุกข์ ในทุกขอริยสัจจ์ โดยกิจ คือเป็นธรรมะที่ควรรอบรู้ โดยย่อ ได้แก่อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ สภาพธรรมที่เกิดดับ เป็นที่ยึดถือของกิเลสตัณหาอุปาทานโดยปรมัตถธรรม ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๓ คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ โดยนัย อายตนะ คือ สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
รู้ทุกข์ หรือเห็นทุกข์ โดยความหมายของพระอริยะ หมายถึง การรู้ตามความเป็นจริงเช่น รู้อัสสาทะ (ความน่าพอใจ) รู้อาทีนวะ (โทษ) รู้นิสสรณะ (การสลัดออก) รู้ปฏิปทาเพื่อการสลัดออก (หนทางที่เป็นข้อปฏิบัติ) ทุกข์ ได้แก่ ขันธ์ ๕ หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บางนัยหมายถึงรู้ทุกข์คือ ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม กำหนดรู้หรือรอบรู้ด้วยปริญญา ๓
โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ได้อ่านข้อคิดเห็นของทุกท่านแล้ว ทำให้เข้าใจขึ้นมากเลย ปกติคนทั่วไปจะคิดว่าความทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจต่างๆ เท่านั้น ถ้าการรู้ทุกข์ หรือเห็นทุกข์ ตามความเป็นจริงโดยขันธ์ ๕ ผู้ที่จะรู้ได้ คงต้องเป็นผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมเท่านั้น แต่ถ้าไม่ได้ศึกษา คงจะไม่เข้าใจเลย
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ในอริยสัจ ๔ ทุกขอริยสัจ คือ สิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกขอริยสัจ ไม่ได้หมายถึงทุกขเวทนาเท่านั้น แต่หมายถึง สภาพธัมมะที่มีจริงเกิดขึ้นและก็ดับไป ขณะนี้มีสภาพธัมมะที่มีจริง เกิดขึ้นและดับไปไหม ที่กล่าวว่าขันธ์ ๕ ควรกำหนดรู้ ก็คือสภาพธัมมะที่มีจริงขณะนี้เอง รูปขันธ์ เช่น เสียง มีจริง เกิดขึ้นและดับไป เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรม เวทนาขันธ์ ความรู้สึก มีจริงในขณะนี้ไม่ต้องไปหาที่ไหนควรกำหนดรู้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา สัญญา.. วิญญาณขันธ์ (จิต) มีจริงในขณะนี้ เช่น การเห็น (จิตเห็น) มีจริงเกิดขึ้นและดับไป ควรกำหนดรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ที่สำคัญเป็นเบื้องต้นของคำว่า กำหนดรู้คือ ไม่มีเราไปกำหนดรู้แต่เป็นธรรมที่ทำหน้าที่กำหนดรู้ คือ สติและปัญญา (สติปัฏฐาน) อันจะเกิดได้ต้องเริ่มจาการฟังให้เข้าใจในเรื่อง ธรรมคืออะไรและเรื่องสภาพธัมมะที่มีจริงในขณะนี้ครับ ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์