๒. จุนทิสูตร ว่าด้วยสิ่งที่อํานวยผลเลิศ
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 69
ปฐมปัณณาสก์
สุมนวรรคที่ ๔
๒. จุนทิสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่อํานวยผลเลิศ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 69
๒. จุนทิสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่อำนวยผลเลิศ
[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ราชกุมารีพระนามว่า จุนที แวดล้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 70
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่า จุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน กล่าวอย่างนี้ว่า หญิงหรือชาย เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ผู้นั้นตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ดังนี้ หม่อมฉันจึงขอทูลถามว่า ผู้ที่เลื่อมใสในศาสดาเช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในธรรมเช่นไร เมื่อตายไปแล้ว จึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่ทำให้บริบูรณ์ในศีลเช่นไร เมื่อตายไปแล้ว จึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนที สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ชนเหล่าใด เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่บุคคลที่เลื่อมใส ในสิ่งที่เลิศ. ธรรมที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเท่าใด วิราคะ คือ ธรรมอันย่ำยีความเมา กำจัดความกระหาย ถอนเสียซึ่งอาลัย เข้าไปตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับนิพพาน บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ชนเหล่าใด เลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้น ชื่อว่า เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส ในสิ่งที่เลิศ. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวกของพระตถาคต คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ สงฆ์สาวก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 71
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่ หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่า เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ที่เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ. ศีลมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว คือ ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหา และทิฏฐิ ไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น ชนเหล่าใดย่อมทำให้บริบูรณ์ ในอริยกันตศีล ชนเหล่านั้นชื่อว่า ทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ.
บุญอันเลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และกำลัง ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้รู้แจ้งธรรมที่เลิศ เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ คือ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิไนยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ อันปราศจากราคะ เป็นที่เข้าไปสงบ เป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ เป็นนาบุญชั้นเยี่ยม ให้ทานในสิ่งที่เลิศ ปราชญ์ผู้ถือมั่นธรรมที่เลิศ ให้สิ่งที่เลิศ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมถึงสถานที่เลิศ บันเทิงใจอยู่.
จบจุนทิสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 72
อรรถกถาจุนทิสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในจุนทิสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปญฺจหิ รถสเตหิ ความว่า เจ้าหญิงจุนที เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ให้จัดรถ ๕๐๐ คัน มีรถเหล่านั้น แวดล้อมแล้ว. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เจ้าหญิงจุนที ดำริว่า เราจักทูลถามข้อสนทนา ปัญหาที่เราให้ เป็นไปกับพระเชษฐภาดา [เจ้าชายจุนทะ] ดังนี้ ถือของหอมดอกไม้ และจุณ เป็นต้น แล้วจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า ยเทว โส โหติ ได้แก่ เมื่อใดผู้นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ผู้นั้นใด. บทว่า อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่ สีลสัมปยุต ด้วยมรรค และผล. ก็ศีลเหล่านั้น เป็นศีลอันน่าใคร่ ของพระอริยะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงไม่ละ แม้ในภพอื่น. บทที่เหลือ พึงทราบแม้โดยนัย ที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ในอัคคัปปสาทสูตร จตุกนิบาต.
จบอรรถกถา จุนทิสูตรที่ ๒