๖. กาลทานสูตร ว่าด้วยกาลทาน ๕
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 83
ปฐมปัณณาสก์
สุมนวรรคที่ ๔
๖. กาลทานสูตร
ว่าด้วยกาลทาน ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 83
๖. กาลทานสูตร
ว่าด้วยกาลทาน ๕
[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการ นี้แล.
ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาล ในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใส ทักขิณาทานจึงจะมีผล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 84
ไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา หรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้น ย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุโมทนา หรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่อนุโมทนา หรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอย จึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก.
จบกาลทานสูตรที่ ๖
อรรถกถากาลทานสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในกาลทานสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาลทานานิ คือ ทานที่ควร ทานที่มาถึงแล้ว อธิบายว่า ทานอันสมควร. บทว่า นวสสฺสานิ คือ ข้าวกล้าดีเลิศ. บทว่า นวผลานิ ได้แก่ ผลไม้ดีเลิศ ที่ออกคราวแรกจากสวน. บทว่า ปมํ สีลวนฺเตสุ ปติฏฺาเปติ ความว่า เขาถวายแก่ท่านผู้มีศีลก่อนแล้ว ตนก็บริโภคภายหลัง. บทว่า วทญฺญู คือ เป็นผู้รู้ภาษิต. บทว่า กาเลน ทินฺนํ ได้แก่ ทาน ที่เขาให้ อันสมควรที่มาถึงเข้า. บทว่า อนุโมทนฺติ ได้แก่ ชนที่ยืนอนุโมทนาอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. บทว่า เวยฺยาวจฺจํ ได้แก่ ทำการที่เป็นงาน ขวนขวายทางกาย. บทว่า อปฺปฏิวาสนจิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตไม่เบื่อหน่าย. บทว่า ยตฺถทินฺนํ มหปฺผลํ ได้แก่ พึงให้ในที่ๆ ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก.
จบอรรถกถา กาลทานสูตรที่ ๖