พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปุตตสูตร ว่าด้วยมารดาบิดาต้องการฐานะ ๕ อย่างจากบุตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39106
อ่าน  395

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 88

ปฐมปัณณาสก์

สุมนวรรคที่ ๔

๙. ปุตตสูตร

ว่าด้วยมารดาบิดาต้องการฐานะ ๕ อย่างจากบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 88

๙. ปุตตสูตร

ว่าด้วยมารดาบิดาต้องการฐานะ ๕ อย่างจากบุตร

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา บิดา เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนาบุตรเกิดในสกุล ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุตรที่เราเลี้ยง มาแล้วจักเลี้ยงตอบแทน ๑ จักทำกิจแทนเรา ๑ วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน ๑ บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก ๑ เมื่อเราตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานให้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา บิดา เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตรเกิดในสกุล.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 89

มารดาบิดาผู้ฉลาด เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร ด้วยหวังว่าบุตรที่เราเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงตอบเรา จักทำกิจแทนเรา วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก และเมื่อเราตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานให้ มารดาบิดาผู้ฉลาด เล็งเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร ฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัปบุรุษ ผู้สงบ มีกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงบุรพคุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจแทนท่าน เชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนองพระคุณท่าน สมดังที่ท่านเป็นบุรพการี ดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป.

จบปุตตสูตรที่ ๙

อรรถกถาปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปุตตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภโต วา โน ภวิสฺสติ ความว่า บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้ว ประคบประหงมมาแล้ว ด้วยให้ดื่มน้ำนม และยังมือและเท้า ให้เจริญเติบโต เป็นต้น ในเวลาเราแก่ เขาจักเลี้ยงเรา ด้วยการล้างมือและเท้า ให้อาบน้ำ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 90

และให้ข้าวต้มข้าวสวยเป็นต้น. บทว่า กิจฺจํ วา โน กริสฺสติ ความว่า เขาพักการงานของคนไว้แล้ว จักไปช่วยทำกิจของเราซึ่งเกิดในในราชตระกูล เป็นต้น. บทว่า กฺลวํโส จิรํ สฺสติ ความว่า เมื่อบุตรรักษาไม่ทำสมบัติ ของเรามีนา สวน เงิน และทอง เป็นต้น ให้ฉิบหายไป วงศ์ตระกูลก็จักตั้งอยู่นาน. อนึ่ง เขาไม่ทำสลากภัตทานเป็นต้น ที่เราประพฤติกันมาแล้วให้ขาดสาย คงดำเนินไป วงศ์ตระกูลของเราก็จักตั้งอยู่นาน. บทว่า ทายชฺชํ ปฏิปชฺชติ ความว่า บุตรเมื่อประพฤติตนสมควรแก่มรดก ด้วยการปฏิบัติอันสมควร แก่วงศ์ตระกูล ก็จักปกครองมรดก อันเป็นสมบัติของเราได้. บทว่า ทกฺขิณํ อนุปฺปทสฺสติ ความว่า บุตรจักเพิ่มทานอุทิศส่วนบุญให้ ตั้งแต่ วันที่สาม นับแต่วันตาย. บทว่า สนฺโต สปฺปุริสา ความว่า พึงทราบว่า เป็นสัตบุรุษ คนดีด้วยการปฏิบัติชอบ ในมารดาบิดา ในฐานะนี้. บทว่า ปุพฺเพกตมนุสฺสรํ ความว่า เมื่อระลึกถึงคุณ อันมารดาบิดากระทำไว้ก่อนแล้ว. บทว่า โอวาทการี คือ เป็นผู้ทำตามโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้แล้ว. บทว่า ภตโปสี ได้แก่ บุตรจักเลี้ยงดูมารดาบิดา ซึ่งท่านเลี้ยงตนมา. บทว่า ปสํสิโย ความว่า เป็นผู้อันมหาชนพึงสรรเสริญในปัจจุบัน นั่นแล.

จบอรรถกถา ปุตตสูตรที่ ๙